วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 2)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 2)

สวัสดีครับกลับมาแล้ว ทิ้งท้ายปี 2555 หัวเราะส่งท้ายปีกับภาคต่อกันในหมวดวิเคราะห์โครงงานกลุ่มโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
ต่อไปนี้เราจะเข้าเรื่องในกระบวนการหม้อต้มไอน้ำให้เข้าใจในแก่นแท้ของระบบไอน้ำกันว่าทำงานกันอย่างไร

เริ่มวิเคราะห์กระบวนการสามารถแยกออกได้ 4 ระบบคือ
1. ส่งกำลังน้ำเลี้ยง (Boiler Feeding)    ระบบนี้จะทำหน้าที่นำส่งน้ำดิบอุ่นๆเข้าหม้อต้มไอน้ำ จากถังพักน้ำดิบ (Demins Tank) ผ่านอุปกรณ์ปั๊มน้ำแรงดันสูง (Boiler Feed Pump)
ส่งน้ำเลี้ยงเข้าหม้อต้มไอน้ำ ผ่านถังพักไอน้ำ มีด้วยกัน สองถังคือ ถังพักไอน้ำแรงดันต่ำ(Low pressure/Water Drum)และถังพักไอน้ำแรงดันสูง(High pressure/Steam Drum) อาจจะมีถังพักที่สามระหว่างถังทั้งสองนี้
หากเป็นระบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น(Intermidiating Drum) ถังพักไอน้ำจะถูกเชื่อมต่อด้วยท่อขนาดเล็กขดเลื่อยเป็นตัวยู(U) หรืองูเลื้อยก็ได้แล้วแต่การออกแบบหม้อไอน้ำ
และอาจจะมีท่อผนังหม้อไอน้ำเป็นแผงเชื่อมอีกด้วยก็ได้(Wall tube) จะว่าไปแล้วรูปแบบก็แตกต่างกันในแต่ละหม้อไอน้ำที่ออกแบบมาไม่เหมือนโดยหลักก็มีท่อขดอยู่ในหม้อไอน้ำละกัน
2. ต้มเดือดและเปลี่ยนความร้อน (Boiler Evaporating and Economizing/Heat Exchanger)    ระบบนี้จะทำหน้าที่นำความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมาต้มเดือดน้ำในท่อที่ขดอยู่ในหม้อไอน้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ กระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนความจากการเผาไหม้โอนถ่ายมาสู่น้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ
เมื่อน้ำเดือดในขึ้นแรกเป็นไอน้ำในส่วนนี้จะระเหยเป็นไอน้ำจากถังพัก เข้าสู่กระบวนการต่อไป
3. การคัดแยกและขยายกำลังส่ง (Boiler Seperating and Pressure Expansing)    ระบบนี้จะทำหน้าที่คัดแยกไอน้ำในถังพักแรก เพื่อแยกส่วนน้ำออกจากไอน้ำและส่งไอน้ำกลับเข้าสู่หม้อไอน้ำอีกครั้งเพื่อเข้ากระบวนการแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไอน้ำให้มีสถานะจากไอเปียกเป็นไอแห้ง
(แสบคอจัง..แค๊กๆ) และมีสถานะแรงดันมากขึ้นเข้าขั้นเป็นยอดไอน้ำที่สามารถใช้งานได้ผ่านถังพักที่สอง เพื่อส่งผ่านเข้าไปในส่วนกังหันไอน้ำและปั่นกระแสไฟฟ้าได้ต่อไป
4. เปลี่ยนสถานะและกลับคืนประสิทธิภาพ ( Boiler Condensing and Return Performancing)    ระบบนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะไอน้ำควบแน่นกลับคืนสู่สถานะน้ำและคืนประสิทธิภาพไอน้ำอุ่นผ่านอุปกรณ์น้ำแรงดันสูงอีกครั้ง แต่สำหรับส่วนเหลือน้ำทิ้งจากกังหันไอน้ำจะส่งผ่านไปหอระบายความร้อน(Cooling Tower) และน้ำทิ้งสู่บ่อพักน้ำบำบัดก่อนนำไปใช้ในระบบอื่นๆต่อไป

จากที่อธิบายไประบบทั้งหมดนี้เป็นแค่กระบวนการหลักของหม้อต้มไอน้ำที่จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อไปส่งกำลังให้กังหันไอน้ำทำงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ที่ทำหน้าที่ควบคุมและรักษาการทำงานของหม้อต้มไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Dearator Tank, Flash Tank,Blow Down Tank, Steam Seperator pot, Silincer Valve, Steam trap, Water Sray Nozzle Feeder, etc. (เยอะจัง)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยการทำงานของหม้อไอน้ำมีคุณภาพที่ดี แต่สำหรับกังหันไอน้ำ(Steam Turbine)แล้วยังมีอุปกรณ์เกี่ยวพ่วงในการทำงานอีกสองตัวหลัก คือ FD Fan และ ID Fan มันคืออะไรจะอธิบายให้ฟังต่อไปในปีหน้าละกัน
เออ...ดูแล้วบทนี้จะเป็นอภิมหาตำนานที่เล่าได้ยาวอีกหลายตอนเชียวแหละ แค่เรื่องกลุ่มโรงไฟฟ้าแรกก็จะต่อเป็นภาคสาม อีกแล้ว

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ)

กลับมาแล้วกับภาคต่อ บทสี่ ครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้หลักการสั่งซื้อไปแล้ว คราวนี้จะเข้าถึงการวิเคราะห์โครงงานตามกลุ่มกัน
เริ่มกันเลยกับกลุ่มแรก หมวดกลุ่มโรงไฟฟ้า
เมื่อนึกถึงอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะคิดถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
หากจำแนกประเภทตามการผลิตจะแยกได้เป็น 4 ส่วน คือ

1. เขื่อนน้ำ ( เขื่อนภูมิพล, เขื่อนสิริกิต, เขื่อนอุบลรัตน์(น้ำพอง) ฯลฯ)

2. โรงกังหันไอน้ำ ( กฟผ. แม่เมาะ, กฟผ. พระนครใต้-พระนครเหนือ, กฟผ. วังน้อย, กฟผ. แก่งคอย, กฟผ. จะนะ ฯลฯ )

3. โรงกังหันลม ( โรงพิกัดอยู่ทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ แนวสันเขา ติดตามข้อมูลเอาเองนะ เป็นทางเลือกพลังงานทดแทนใหม่)

4. โรงแสงอาทิตย์ ( โรงงานหลักอยู่พระนครศรีอยุธยา เหล็ก Solar Farm เริ่มมีในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พลังงานทดแทนอนาคตใหม่)

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คงจะไม่ขอเอ่ยถึงละกัน เพราะยังไม่มีข้อมูลมากนัก และไม่คิดว่าจะเริ่มได้ในประเทศไทย

ส่วนแรกเขื่ิอนน้ำจะไม่ขอเข้ารายละเอียดมากนักเพราะส่วนนี้จะมีแต่หน่วยงานของ กฟผ.เท่านั้นที่ทำแต่ใช่เราจะไม่โอกาสเรียนรู้เลยนะ หากสนใจลองเข้าไปดูในเว็บของ กฟผ. เองละกันครับ

ต่อไปนี้จะขอเข้าเรื่องในส่วนของ โรงกังหันไอน้ำ
โรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
หากจำแนกตามวัตถุดิบการผลิตต้นทางแล้วละก็ จะจำแนกได้ดังนี้
1. เชื้อเพลิงพลังงาน
   - ถ่านหิน (กฟผ. แม่เมาะ , BLCP, GLOW, EGCO)
   - น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. พระนครใต้-พระนครเหนือ, กฟผ. วังน้อย, กฟผ. แก่งคอย, กฟผ. จะนะ, RGCO, EGCO, GLOW เป็นต้น)
   - กากของเสียและวัตถุดิบพืชไม้ (กากน้ำมันเสียและวัสดุเจือปน, กากเมล็ดปาล์ม, เปลือกข้าว, ฟางข้าวโพด, ชานอ้อย, กากเมล็ดกาแฟ เป็นต้น)
ในส่วนนี้จะต้องถูกเผาไหม้เป็นพลังงานความร้อนให้กับข้อต่อไป
2. น้ำดิบ
    ส่วนนี้จะถูกพลังงานความร้อนทำให้เดือดเป็นไอน้ำ (Steam) และเกิดแรงดันเพื่อไปขับเคลื่อนกังหัน ในส่วนกระบวนการนี้เรียกว่า หม้อไอน้ำ (Boiler) เวลานึกถึงส่วนนี้ ให้คิดถึงกาต้มน้ำร้อนที่เป็นแบบเก่า ต้องใช้เตาถ่านหรือเตาแก๊ส ตรงปลายปากของกาต้มน้ำจะมีไอน้ำออกมา ตรงนี้แหละ
เป็นผลผลิตของส่วนนี้แหละครับ หากจะเจาะลึกในกระบวนการจะยกอธิบายในส่วนต่อไปอีกที
3. กระแสไฟฟ้าและลมขับเคลื่อนกังหัน
  - กระแสไฟฟ้าเป็นวัตถุดิบต้นทางเริ่มแรกเพื่อขับกังหันก่อนให้เคลื่อนตัวก่อนทำงาน หากไม่มีกระแสไฟฟ้าจะทำไงล่ะ ก็มือหมุนเอาสินะ...ไม่หรอกครับล้อเล่น
ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่จะมีไฟสำรองสำหรับการทำงานส่วนนี้เสมอนอกจากจะฉุกเฉินจริงๆ
  - ลมขับเคลื่อนกังหัน เป็นวัตถุดิบต้นทางส่วนที่สองเพื่อขับกังหันให้เคลื่อนตัวเช่นกัน แต่จะเกี่ยวข้องในส่วนอุปกรณ์ควบคุมและบังคับตัวกังหัน
แล้วหากไม่มีลมล่ะ ก็ทำงานไม่ได้นะสิ ดังนั้นส่วนใหญ่ โรงไฟฟ้าจะมีถังพักลมเก็บไว้เสมออย่าลืมนะ

เมื่อรู้ต้นทางแล้วจะต้องทราบปลายทางคือ ผลผลิต ว่ามีอะไรบ้างดังนี้

1. ส่วนเชื้อเพลิง เมื่อถูกเผาไหม้แล้วจะผ่านหม้อไอน้ำออกทางปล่องไฟ (Stack) แต่ก่อนจะออกปล่องไฟได้จะต้องผ่านกระบวนการตรวจจับและคัดแยกของเสียก่อน
    หากเผาไหม้สมบูรณ์ ไม่มีของเสียเลยจึงจะผ่านปล่องไฟออกไปได้ นี่คือหลักการที่ต้องควบคุมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา มาตรฐานสิ่งแวดล้อมนะครับ
    Green Energy ส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ  เอ...แต่ถ้าพลังงานความร้อนยังเหลือจะนำกลับมาใช้ได้อีกหรือไม่ ? คำตอบคือได้ครับ ก็นำมาอุ่นไอน้ำอีกครั้งไง
    เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์เปล่า ไอน้ำที่อุ่นซ้ำได้เรียกว่า Superheat Steam เพื่อที่จะใช้งานได้อีกครั้ง
2. ส่วนน้ำดิบ เมื่อพลังความร้อนต้มเดือดเป็นไอน้ำแล้ว จะถูกอุ่นเป็นซ้ำเป็นไอน้ำสัมพัทธ์ ก่อนส่งไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป
    แล้วไอน้ำที่ผ่านกังหันแล้วจะไปไหน ส่วนหนึ่งแปลงกลับมาเป็นน้ำร้อนแล้วกระบวนการลดอุณหภูมิผ่านอาคารระบายความร้อน(Cooling Tower) แล้วกลับใช้กลับมาใช้งานอีกครั้ง
  สำหรับส่วนที่ยังมีไอน้ำแฝงอยู่จะผ่านกระบวนการต้มก่อนส่งไปโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตต่อไป ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม
  หรือโรงไฟฟ้าขนาดกลางและย่อม
3. กระแสไฟฟ้า คือผลผลิตหลักในกระบวนการทั้งหมด กังหันไอน้ำ(Steam Turbine) ขับเคลื่อนเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า (Generator) หากในรถยนต์ก็ ไดนาโมเนี่ยแหละ
   มีกระแสไฟฟ้าสำรองคือ แบตเตอรี่เลี้ยงไว้ให้ทำงานได้ตลอด พอจะนึกออกรึยังว่าโรงไฟฟ้ามีหลักการทำงานอย่างไร

ต่อไปจะเจาะลึกรายละเอียดในกระบวนการของหม้อต้มไอน้ำแต่ว่าเมื่อยแล้วล่ะก็ฝากไว้คราวหน้าจะมาอธิบายต่อไปนะ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน
เอ...จะเริ่มต้นอย่างไรดีนะ

วันก่อนได้ไปเยี่ยมสถาบันศึกษาเก่าฯ ไม่ได้เจอกันได้ไปนั่งกินกันหลังสถาบัน
มีเรื่องอยากจะแชร์กัน ทุกวันนี้ สถาบันศึกษามี 4 ภารกิจหลัก แต่กลับละเลยภารกิจหลักสำคัญไป
ภารกิจที่ว่าคือ การผลิตบัณทิตสู่ภาคตลาดเศรษฐกิจและสังคม แต่เดี๋ยวนี้ความสำคัญอยู่ตรงไหน
ก็ภาคการเรียนรู้เดี๋ยวนี้ คณาจารย์บางท่านมิได้มุ่งเน้นจะสอนนักศึกษาอย่างยิ่งจัง กลับเอาเวลาไปมุ่งเน้น
ที่การพัฒนาวิชาการและงานวิจัยให้ภาคตลาดอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งนำเงินมาบริหารภาคการศึกษาแต่ผลประโยชน์หลัก
อยู่ที่ตัวคณาจารย์ได้รับเงินสนับสนุน เงินเดือนไม่พอใช้แล้วต้องพึ่งเงินจากนอกสถาบันฯมาเลี้ยงตัวเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่
ทำให้การใส่ใจในการสอนนักศึกษา มีน้อยลง แล้วนักศึกษาหน้าใหม่จะทำอย่างไร เรียนรู้ด้วยตัวเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
หากใครประจบอาจารย์เก่ง ก็ได้แนวข้อสอบ เข้ากลุ่มเก็งข้อสอบให้เรียนผ่านไปวันๆ หากจะทำความเข้าใจก็พึ่งห้องสมุดละกัน
" อนาคตการศึกษายุคใหม่ นักศึกษาไม่ต้องไปเรียนที่สถาบันแล้ว นั่งเรียนอยู่หน้าอินเตอร์เน็ตเครื่องคอมพิวเตอร์และแล็บท็อป ก็จบปริญญาได้แล้ว"
จงจำไว้เรียนศึกษาเพื่อธุรกิจสังคม และทำงานเพื่อเรียนรู้จะเป็นเจ้าของกิจการ หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ก็อ่านบทความเพื่อเรียนรู้ต่อไป

เมื่อเริ่มโครงงานการสอบถามราคาเพื่อสั่งซื้อวัสดุและเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้งานก่อนนะ
แบ่งลำดับวิธีการสั่งซื้อได้ดังนี้
1. การเลือกกลุ่มวัสดุและเครื่องมือ ออกเป็นประเภท เช่น กลุ่ม Hand Tools/Electrical Tools/Gas Tools/Welding Tools/Cutting Tools/Special Tools เป็นต้น
2. เลือกเซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่าย ให้จำเฉพาะกลุ่มที่จะสอบถามราคา ต้องมีอย่างน้อย 3 ตัวเลือกเป็นเกณฑ์
3. ส่งรายการตามกลุ่มที่แยกไว้ไปให้เซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่ายที่เลือก
4. เมื่อส่งไปแล้วต้องติดตามทันทีและขอคำตอบที่จะได้รับว่าเมื่อใด หากไม่ได้รับคำตอบต้องเลือกใหม่ให้คำตอบที่ดีที่สุด
5. เมื่อได้รับราคาแล้วนำมาเปรียบเทียบราคาและข้อมูลประกอบกลุ่มวัสดุนั้นๆว่าตรงตามสเป็คที่ต้องการหรือไม่ แล้วเลือกคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

คำตอบที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาแต่สำคัญว่าตรงสเป็คที่ต้องการใช้งานหรือไม่  ราคาอาจจะเป็นลำดับที่ 2 ก็ได้ จงคิดไว้เสมอว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับมาก่อนเสมอ

สำหรับข้อมูลเซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่าย จะหาได้จากไหนล่ะ?
ก็เดินไปหาแผนกธุรการจัดซื้อโครงงานสิ เค้าจะมีข้อมูลให้คุณเกือบครบแหละ และเลือกหมวดหมู่กลุ่มที่คุณต้องการก็สามารถหาได้ง่ายขึ้นด้วยนะ

แต่หากเค้าไม่มีข้อมูลที่คุณต้องการจะไปหาใครได้อีกละ ก็ไปถามอาจารย์กู....กูเกิ้ล(Google)ไง รู้ทุกเรื่องและแหล่งข้อมูลรู้ทุกเรื่องแหละ ยกเว้นจะพิมพ์เรื่องผิดเท่านั้นแหละ

ธุรการไม่มีหน้าที่ตัดสินใจสั่งซื้อให้คุณได้หรอก คุณต้องเลือกเองนะ เค้ารู้เพียงข้อมูลที่คุณต้องการได้รับ การตัดสินใจเป็นของคุณครับ และต้องผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ใหญ่ด้วยนะ
ไม่งั้นหากคุณเลือกสั่งซื้อตามใจตนเองทั้งหมด อาจจะต้องควักกระเป๋าตัวเองด้วยนะ

เมื่อผ่านขั้นตอนการสั่งซื้อแล้ว จะพาคุณไปสู่การตรวจรับสินค้า ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญลำดับถัดมา
กำหนดส่งสินค้า เมื่อไหร่?
สภาพสินค้าสมบูรณ์ มีตำหนิหรือไม่?
เอกสารรับรองสินค้า มีหรือไม่? รายละเอียดตรงตามสเป็คหรือไม่?
ตรวจรหัสสินค้า องค์ประกอบสินค้า คุณสมบัติครบหรือไม่?
ส่งมอบและรับสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว? กรรมสิทธิ์ในการครอบครองเป็นของคุณแล้วครับ มีแต่การรับประกันตัวสินค้าหากเกิดผิดพลาดแล้วไม่ส่งคืนภายใน 7 วัน
คุณรับผิดชอบเองนะ เค้าไม่รับผิดชอบให้คุณหรอกครับ

ประเด็นเหล่านี้คุณอาจจะไม่พบเจอแต่ คุณที่รับของให้คุณต้องเจอ ต้องบอกให้เค้าระมัดระวังด้วยไม่งั้น เสียเงินฟรีสิครับ

การวิเคราะห์โครงงาน
สิ่งที่ต้องรู้ทำความเข้าใจกันก่อนเริ่มดำเนินโครงงาน คุณรู้รายละเอียดของโครงงานที่คุณจะทำแล้วรึยัง?
หากยังไม่รู้ให้ศึกษารูปแบบ ระบบขั้นตอน และจุดมุ่งหมายของโครงงานให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเริ่มงานกัน
ความเข้าใจมีหลัก 3 M ให้รู้ไว้คือ Man Money Machine (คนทำงาน เงินต้นทุนและค่าใช้จ่าย เครื่องจักรและอุปกรณ์)
มีอยู่ในทุกระบบโครงงานที่คุณจะต้องควบคุมให้อยู่หมัด หากการทำงานส่วนใดส่วนหนึ่งผิดพลาด นั่นคือผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานน้อยลง
เมื่อจบโครงงานคุณต้องตอบคำถามอาจารย์ใหญ่ได้ว่าอะไรคือสาเหตุของความผิดพลาดเหล่านั้น ผมว่าคุณต้องตอบได้นะ หากคุณได้ทำโครงงานนั้นอย่างจริงจัง

เราจะเริ่มการวิเคราะห์จากที่เคยแยกกลุ่มวิชาโครงงานไปแล้วในบทที่สองกันครับ
เราจะมาเจาะลึกกับกลุ่มในแต่ละประเภทกันครับ แต่ว่าคงต้องยกไปในตอนต่อไปแล้วละกัน

ผมรู้เพลียแล้วขอพักไว้ก่อนนะ...แล้วติดตามกันต่อไป

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

3. บทสาม การแบ่งตารางเรียนวิชาและประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน (ต่อ)

3. บทสาม การแบ่งตารางเรียนวิชาและประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน (ต่อ)
การประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน เพื่อปฏิบัติภาคสนาม
เราจะเริ่มโครงงานอย่างไรดี?
ทุกครั้งที่จะทำโครงงานอาจารย์ประจำวิชาและที่ปรึกษาโครงงานจะบอกกล่าวเริ่มโครงงานเบื้องต้น
1. คุณต้องเตรียมการได้แก่ กำลังคนและเครื่องมือ และอบรมก่อนเริ่มเรียน (บางกรณีคุณต้องตรวจสุขภาพก่อนนะ)
2. คุณต้องวางแผนการทำโครงงานจากการสำรวจหน้างาน(หากเป็นโครงงานที่มีประวัติควรศึกษาข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้มากที่สุด)
3. คุณต้องรายงานผลการดำเนินโครงงานอย่างสม่ำเสมอและติดตามแผนงานว่าส่วนใดที่ต้องเร่งทำก่อนและหลังจบโครงงาน
ติดต่อใครก่อนดี?
จากบุคคลที่เคยกล่าวไว้ในตอนที่แล้ว ถามจะติดต่อใครก่อนดีล่ะ
คำตอบ คือ คุณต้องติดต่ออาจารย์ประจำวิชาและที่ปรึกษาโครงงานก่อน
เพื่อให้ทราบรายละเอียดโครงงานและแผนงานเบื้องต้น
หลังจากนั้น คุณจะต้องประสานงานไปที่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเพื่ออบรมก่อนเรียน
เพื่อให้ทราบระเบียบและความปลอดภัยในโครงงานนั้นๆ จะปฏิบัติภาคสนามได้ถูกต้อง
ต่อไปจึง ติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่ห้องทดลองและฝ่ายสถานที่ เพื่อเตรียมงานภาคสนาม
เมื่อเริ่มปฏิบัติภาคสนามแล้ว เจ้าหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบโครงงานจะคอยดูแลเป็นพี่เลี้ยงตลอดจนจบโครงงาน
จำไว้ทุกวันและระหว่างสัปดาห์ ที่ปฏิบัติภาคสนาม
คุณจะต้องรายงานผลดำเนินโครงงานและแผนงานให้อาจารย์ประจำวิชาทราบตลอดนะ ไม่งั้นอาจารย์ใหญ่จะดุเอาได้ว่าไม่ติดตามงาน

ช่วงนี้อาจจะมีเนื้อหาไม่มากนักต้องขออภัยนะ แต่รับรองว่าบทต่อไป บทสี่ จะเข้มข้นมากขึ้น ติดตามกันต่อไป

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

3. บทสาม การแบ่งตารางเรียนวิชาและประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน

ห่างหายไปนานกลับมาเรียนกันต่อบทที่สาม

3. บทสาม การแบ่งตารางเรียนวิชาและประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน
จากบทที่แล้วเราได้ทราบข้อมูลสำคัญในการเตรียมโครงงานและการจัดสรรตารางเรียนบ้างแล้ว
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงการนำแบ่งตารางเรียนในภาคสนามกัน โดยมีหมวดหมู่ดังนี้
1. ภาควางแผนงานและเตรียมเอกสารโครงงาน
2. ภาคสำรวจและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
3. ภาคดำเนินโครงงานและประชุมติดตาม
4. ภาคตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินโครงงาน

สำหรับการประสานงานที่ต้องติดต่อ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. อาจารย์ประจำวิชาและที่ปรึกษาโครงงาน คือ คนแรกที่คุณต้องติดต่อเพื่อเริ่มโครงงาน
2. เจ้าหน้าที่ จัดซื้อและคลังพัสดุ คือ คนที่ต้องประสานงานในการสั่งซื้อเพื่อเบิกวัสดุอุปกรณ์
3. เจ้าหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบโครงงาน คือ พี่เลี้ยงที่สำคัญซึ่งจะคอยดูแลคุณและจะอยู่ด้วยกันจนจบโครงงาน
4. เจ้าหน้าที่ห้องทดลองและฝ่ายสถานที่ คือ ผู้ที่จะอนุญาตและดูแลคุณในระหว่างเรียนวิชาโครงงานนั้น
5. เจ้าหน้าที่อบรมและความปลอดภัย คือ ผู้ที่จะให้คำแนะนำก่อนเริ่มเรียนและคอยดูแลความเรียบร้อย หากคุณไม่ปฏิบัติตามเจอดีแน่ๆ
6. คณะกรรมการตรวจสอบและอนุมัติโครงงาน คือ ผู้ที่ชี้เป็นชี้ตายว่าคุณจะผ่านวิชาโครงงานนี้หรือไม่

คุณมีปัญหากับบุคคลเหล่านี้บ้างหรือเปล่า?
หากมี เพราะพวกเขาจะคอยรายงานความประพฤติให้อาจารย์ปกครองและอาจารย์ใหญ่
สาเหตุที่คุณต้องออกจากโรงเรียน ก่อนจบการศึกษา อาจมาจากพวกเขาก็ได้นะ

อย่าทำตัวมีปัญหากับบุคคลเหล่านี้ ถ้าคุณอยากจบการศึกษาอย่างภาคภูมิ
เพราะเค้าจะชี้เป็นชี้ตายคุณได้ว่าจะจบหรือไม่

ภาคต่อไปเราลองมาสู่ภาคสนามกันดูว่าจะปฏิบัติงานโครงงานกัน
ว่าเค้าเริ่มทำกันอย่างไร เริ่มด้วยการประสานงาน บทสาม (ต่อ)

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

2.บทสอง (ต่อ) ภาค วางแผนก่อนเรียน

กลับมาแล้วจ้า
2.บทสอง (ต่อ) ภาค วางแผนก่อนเรียน

จากตอนที่แล้ว เราได้อธิบายขั้นตอนการเรียบเรียงข้อมูลโครงงานแล้ว
ต่อไป เราจะทำการจัดแผนตารางการเรียนการสอนวิชาโครงงาน
โดยแบ่งข้อมูลโครงงานไว้ดังนี้
1. สัญญาและเงื่อนไขโครงงาน(PO / Contract No.)
2. สำรวจและออกแบบโครงงาน (Survey &Engineering Design)
3. จัดซื้อวัสดุโครงงานและบริการ(Purchasing&Servicing)
4. กำลังคนและแผนวิชาโครงงาน(Man power&Schedule Plan)
5. ประชุมเสนอโครงงานและติดตามผลงาน(Meeting&Work Progress)
6. ตรวจสอบและทดสอบอุปกรณ์โครงงาน(Inspect&Testing NDE)
7. ใบรับประกันอุปกรณ์และเอกสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ตรวจสอบ(Material&Equipment Certificate)
8. เอกสารข้อมูลรายงานและการส่งมอบโครงงาน(Submittal Report)
9. ทำรายงานปิดโครงงานและเบิกเงินสุดท้ายโครงงาน(Final Project Submittal Report)
เมื่อได้เรียบเรียงข้อมูลไว้ตามข้างต้น
เราจะเริ่มจัดการวางแผนก่อนเรียนได้เป็นหมวดหมู่มากขึ้น
เริ่มจากการจัดตารางการเรียนการสอนกัน
1. เมื่อได้รับใบอนุมัติวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้(PO / Contract No.) จำเป็นอย่างยิ่งต้องศึกษา
หัวข้อวิชาและสาระสำคัญ รวมทั้งเอกสารตำราเรียนจะทำความเข้าใจก่อนเริ่มเรียนเป็นลำดับแรก
2. หลังจากนั้นจะจัดการวางแผนการสำรวจโครงงานและออกแบบผังงาน ก่อนดำเนินการ
ในส่วนนี้จะเลือกปฏิบัติสำหรับโครงงานติดตั้งใหม่และซ่อมบำรุงเป็นส่วนที่จะเน้นว่าจะให้ความสำคัญมากน้อยเพียง
แต่สาระสำคัญจะอยู่ในส่วนที่ 3 ซึ่งจะเป็นผลลัพธ์จากการปฏิบัติในข้อนี้
3. ถอดปริมาณวัสดุอุปกรณ์ที่แน่นอนได้แล้ว อย่างประเมินได้ 50% ส่วนที่จะต้องสั่งซื้อทั้งหมดได้ ควรรีบดำเนินการ
และคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดส่งว่าครอบคลุมระยะเวลาตามแผนวิชาโครงงานหรือไม่ หากแต่โครงงานนี้อาจารย์ประจำวิชา
จะเตรียมวัสดุอุปกรณ์บางส่วนไว้ให้ จำเป็นต้องตรวจรายการว่าครบถ้วนที่จะต้องใช้งานหรือไม่ หากมีส่วนแก้ไขจะได้ไม่ต้อง
เสียเวลาในการรอวัสดุอุปกรณ์ที่ยังไม่ครบถ้วน (ในส่วนนี้การดำเนินการไม่ควรเกิน 7 วันในการดำเนินการให้เรียบร้อยเพื่อรอสั่งซื้อใน 30 วัน)
4. การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ใช้งาน ในส่วนนี้จะต้องดำเนินการไปพร้อมกับข้อที่ 3 แล้วนำรายการไปให้ทางStore Workshop จัดเตรียมก่อนปฏิบัติงานอย่างน้อย 3-4 วัน
หากมีเวลาต้องตรวจเช็คอุปกรณ์ก่อนใช้งาน อย่างน้อย 7 วัน หากมีรายการชำรุดเสียหายต้องสั่งซื้อใหม่จะดำเนินการคราวเดียวกับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
5.กำลังคนสามารถแบ่งภาคการดำเนินโครงงานได้ 3 ช่วงดังนี้
5.1 ภาคเตรียมงานและการสำรวจ ในส่วนจะใช้คนระดับ Supervisor/Foreman,QC Technician,Safety
เพื่อทำความเข้าใจโครงงานเบื้องต้นก่อนอีกทั้งจัดเตรียมเอกสารจัดส่ง อาจารย์ก่อนเริ่มเรียน
5.2 ภาคปฎิบัติงานและตรวจสอบโครงงาน ในส่วนนี้ จะมีคนทุกระดับ แล้วแต่ความจำเป็นของโครงงาน
หากแต่มีงบประมาณโครงงานมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่โครงงานไม่เกินล้าน จะใช้แค่ วิศวกร/Supervisor และForeman/QC Technician พร้อมคนงานไม่เกิน 20 คน
ในการทำงานเพียงเท่านั้น อาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินการให้เสร็จทันเวลาประสิทธิภาพ 70-80% ก็เกินความสามารถแล้ว
เพียงแต่ทางอาจารย์ประจำวิชาจะให้ผ่านได้หรือไม่นั้น ต้องมีรายงานประกอบความคืบหน้าโครงการที่ดูดี ไม่ทำให้อาจารย์คิดว่าเราทำงานด้อยประสิทธิภาพแต่อย่างใด
5.3 ภาคส่งงานและรายงานสรุปโครงงาน ในส่วนนี้กำลังจะลดลงไปตามงานที่เหลืออยู่ หากทำงานภาคที่ 2 ได้ไว ก็จะลดกำลังคน
ไปได้เยอะ และมีส่วนเก็บงานและรายละเอียดน้อยลงไปอีก เอกสารนั้นควรมีการถยอยส่งตรวจงานระหว่างดำเนินการไปควบคู่กัน
เพื่อจะมีเวลาจัดเรียบเรียงรายงานได้เร็วขึ้น หากมารอส่งตรวจงานท้ายสุดก็จะชลอการส่งมอบงานล่าช้าออกไปอีก ปัญหาอยู่ที่ข้อต่อไป
6. เมื่อได้จัดสรรกำลังคนและวางตารางการเรียนการสอนแล้ว จะต้องมีการติดตามและประชุมรายงานต่อไปในส่วนเป็นสิ่งที่
ทำให้โครงงานดูดีหรือแย่ลง ก็อยู่การนำเสนอผลงานว่าผ่านหรือไม่ หากจะให้ผ่านจะต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นสำหรับการดำเนินการที่บกพร่อง
และจะมีความถี่มากน้อยเพียงใดอยู่ว่าโครงงานดำเนินการดีหรือไม่ มีทั้ง 1สัปดาห์ 2สัปดาห์ หรือ 1เดือนต่อครั้ง จงทำให้ดูดีนั่นแหละ
7. เมื่อทำให้ดูดีแล้ว ก็ต้องมีเอกสารที่น่าเชื่อถือและรายงานอันทำให้โครงงานผ่านวิชาไปได้ เพราะหากผลงานดีแล้ว
ย่อมทำให้การส่งมอบงานได้รวดเร็ว และที่สำคัญการเบิกงบงวดสุดท้ายเพื่อปิดโครงงานนั้นทำได้ไม่ยาก
8. เอกสารประกอบรายงานและการส่งมอบโครงงาน ให้อาจารย์ประจำวิชาตรวจสอบครั้งสุดท้ายว่าผ่านหรือไม่
ก็จะต้องมีผลงานและการนำเสนอรายงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีข้อโต้แย้งได้ นั่นทำให้เราผ่านวิชานี้ได้
ส่วนเกรด ก็ขึ้นอยู่ว่า คุณจะไปศิษย์รัก และชังของอาจารย์กันแน่นะ หมั่นเคารพและยำเกรงในอาจารย์
และมีเหตุมีผลต่อสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ทำให้งานนั้นมีความเสียหายเป็นดีที่สุด...

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

2. บทสอง การเตรียมข้อมูลวิชาโครงงานและวางแผนก่อนเรียน

กลับอีกครั้ง มาต่อกันในบทสอง

2. บทสอง การเตรียมข้อมูลวิชาโครงงานและวางแผนก่อนเรียน

เราจะเริ่มเตรียมข้อมูลวิชาโครงงาน ซึ่งคุณจะต้องไปเรียนภาคสนามส่วนใหญ่
วิชาที่เราจะได้เรียนได้จำแนกกลุ่มดังนี้
1. โรงไฟฟ้า (EGAT, RGCO, KEGCO, BLCP,SAHACOGEN etc.)
2. โรงกลั่นและปิโตรเคมี (IRPC, PTT, BCP, etc.)
3. โรงปูนซีเมนต์และกระดาษ (SCG, TPIPL, PANJAPHOL, etc.)
4. โรงน้ำตาลและโรงสีข้าว ( KASETPHOL, CHIAMENG, etc.)
5. ท่าเรือและถังน้ำมัน (ปกติวิชาจะอยู่ในโรงกลั่นแต่ ความจำเพาะพิเศษบางอย่างจึงต้องแยกออกมาให้ชัดเจน)

ท่านจะได้พบกับอาจารย์ประจำวิชาก็ เรียกได้ว่าเป็น ผู้ดูแลหรือผู้ควบคุมประจำวิชาโครงงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
อาจจะไม่ใช่คนเดิม แล้วแต่คุณอยู่สังกัดวิชาส่วนไหน แล้วอาจารย์ประจำชั้นคุณเป็นใครกัน?

ในหนึ่งวิชาโครงงาน คุณจะได้รับผิดชอบหน้าที่ในตำแหน่งตามลำดับดังนี้
1. Site Manager ผู้จัดการภาคสนาม (ส่วนใหญ่อาจารย์ประจำชั้นอาจจะควบตำแหน่งนี้ด้วย)
2. Site Engineer วิศวกรภาคสนาม
3. Safty Officer เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ (ในบางครั้งอาจจะมีแค่ Technical Safety เท่านั้น)
4. QC Technician/Foreman เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ (ภาคงานประกอบเชื่อมและการตรวจสอบ NDE)
5. Technician/Foreman หัวหน้างานช่าง (ภาคงานประกอบเชื่อมและการตรวจสอบ Visual)
6. Technician/Foreman หัวหน้างานช่าง (ภาคงานบริการตรวจซ่อมบำรุง)
7. Admin Document/Store ผู้ดูแลประสานงานและจัดการเอกสารงานและคลังพัสดุ

ก็จำแนกตามความรับผิดชอบได้ 7 ส่วนงานข้างต้น หากเป็นวิชาโครงงานระยะสั้น
อาจไม่ต้องมีตำแหน่งที่ 7 ก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ความรับผิดชอบจะไปตกอยู่ในตำแหน่งที่ 2 ซะส่วนใหญ่
และต้องเป็นคนทำรายงานส่งอาจารย์ตลอดวิชาโครงงาน ไม่แน่คุณอาจจะทำได้ทุกตำแหน่งก็ได้นะ

เอาล่ะก่อนจะเริ่มเรียนในแต่ละวิชา เรามาดูสิว่าจะต้องเตรียมอะไรกันบ้าง (Bidding)

1.ข้อมูลประกอบพิจารณารายวิชา (วัตถุประสงค์และขอบเขตการฝึกสอนรายวิชา)
2. ตารางราคาและวัสดุอุปกรณ์ประกอบวิชาโครงงาน(BOQ and Materials)
3. แผนผังแบบและตารางเวลาวิชาโครงงาน(Drawing and Schedule)
4. ตารางจัดตำแหน่งรับผิดชอบและกำลังคนประกอบวิชาโครงงาน(Organizing and Man power)
5. เงื่อนไขเฉพาะวิชาโครงงาน
6. เงื่อนไขด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยประจำวิชาโครงงาน
7. ข้อกำหนดเก็บเงินรายวิชาและส่งรายงานอนุมัติผลการเรียน(Payment and Submittal Report)

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเตรียมการก่อนที่คุณจะเรียนแต่ละวิชา
บางครั้งคุณมีเวลาไม่เกิน 2-3 วัน ก็จะเริ่มเปิดภาคเรียนแล้วดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝน
การเตรียมข้อมูลให้เกิดความชำนาญก่อนเริ่มเรียน ใช้เวลาพิจารณาข้อมูลทั้งหมดให้เข้าใจก่อนจะจำแนก
รายละเอียดและจัดการดังนี้
1. หาคำ KEYS WORD ข้อมูลรายวิชา ว่าต้องการอะไร มีสาระสำคัญอะไรบ้าง ให้เวลา 1 ชั่วโมงจับประเด็นให้ถูกต้อง
2. นำ KEYS WORD มาเขียนแผนผังเชื่อมโยงโครงงานทั้งหมดและจัดเป็นตาราง EXCEL (MICROSOFT PROJECT)
3. ถอดปริมาณวัสดุและจำแนกประเภท เพื่อสอบถามราคาวัสดุเบื้องต้น จากข้อมูลแผนผังแบบและตารางรายวิชาโครงงาน
4. เมื่อได้ราคาวัสดุ ก็กำหนดตารางราคาและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบโครงงาน
5. ระหว่างนั้นก็ประชุมผู้ร่วมเรียนกลุ่มจัดตำแหน่งรับผิดชอบและกำลังคนประกอบวิชาโครงงาน และจัดทำตารางเสนอ
6. จัดทำเอกสารประกอบเพิ่มเติมในการนำเสนอโครงงาน เพราะอาจารย์ประจำวิชาจะให้คุณนำเสนอก่อนเริ่มเรียนเสมอ
7. สาระสำคัญที่จะให้คุณต้องเตรียมเพื่อนำเสนอได้แก่
7.1.แผนผังกลุ่มโครงงานของคุณ (ข้อมูลสวยหรู แต่ทำจริงไม่ได้ อย่านำเสนอเป็นอันขาด)
7.2.แผนผังระยะเวลาโครงงาน(มันจะบอกว่าคุณจะสามารถเรียนได้จนจบตามตารางการสอน)
7.3.ประวัติการเรียนที่ผ่านของกลุ่มผู้เรียนวิชาและใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมที่รับรองว่าเข้าพื้นที่ภาคสนามพิเศษได้
7.4.แผนโครงงานในส่วนขั้นตอนการตรวจสอบงานเชื่อมและทดสอบ NDE (ถ้ามี)
7.5.แผนผังแบบที่ปรับปรุงข้อมูลแล้วก่อนเริ่มเรียนจริง(หากข้อมูลรายวิชาไม่ได้กำหนดออกแบบมาให้ตั้งแต่ต้น)
8.ข้อมูลเทคนิคในการนำเสนอก่อนเริ่มเรียนวิชาโครงงาน (คุณต้องคำนวณการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรและโครงสร้างที่ต้องได้รับอนุมัติก่อนดำเนินการ)
9.แบบฟอร์มตารางรายงานและติดตามผลการเรียนวิชาโครงงาน (ส่วนนี้อาจารย์ประจำวิชาจะแจ้งเมื่อเริ่มการนำเสนอโครงงานครั้งแรก)

หลักสำคัญในการเริ่มเรียนแต่ละวิชา คุณจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อน และจัดเรียงข้อมูลลำดับความสำคัญว่าสิ่งควรทำก่อนหลัง
ดังนั้นหากคุณมีเวลาเตรียมข้อมูลรายวิชา มากน้อยเท่าใด แต่ไม่สำคัญเท่าคุณจัดลำดับมันถูกหรือไม่
หากคุณเริ่มเตรียมจากสุดท้ายมาหาสิ่งแรกที่ต้องทำแล้วก็ คุณก็ทำมันไม่ทันเท่านั้นแหละ

แล้วติดตามต่อใน บทสอง (ต่อ) ภาค วางแผนก่อนเรียน นะ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

หลักสูตรการเรียนการสอน PPMS

หลักสูตรการเรียนการสอน
ที่นี่ไม่ได้จำกัดระยะเวลาว่าคุณจะต้องเรียนกี่ปี ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1.หลักสูตรเร่งรัดระยะสั้น 6 เดือนหรือ 1-2 ปี ก็แล้วแต่ความต้องการของคุณ
สำหรับผู้ที่มีความหวังกับแหล่งการศึกษาใหม่ หรือกำลังรอผลการสอบที่อื่นอยู่
2.หลักสูตรปกติของโรงเรียนนี้อยู่ที่ 4-5 ปี หากเกินกว่านี้แสดงคุณยังเรียนตกบางวิชาหรือสอบซ่อมบางวิชาที่ไม่ผ่านอยู่
หรือยังมีรายงาานทำส่งอาจารย์ไม่เสร็จก็เลยไม่ผ่านวิชานั้นไปได้
3.หลักสูตรระยะยาวนั้นตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปสำหรับบุคคลไม่รีบร้อนค่อยๆเรียนรู้กันไป
โดยลงวิชาน้อยไปทำให้มีเวลาว่างเยอะหรือยังไม่มีจุดหมายในชีวิตที่แน่นอน
 เพราะต้องการศึกษาวิชาโดยละเอียดและอ่านบทเรียนซ้ำไปซ้ำมาเพื่อที่จะแตกฉานในแต่ละวิชาก่อนจบการศึกษา

ต่อไปนี้จะเริ่มเข้าสู่บทเรียนวิชา PPMS ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 9 บทดังนี้
1. บทแรก สัมภาษณ์และเริ่มเข้าเรียน
2. บทสอง เตรียมข้อมูลวิชาโครงงานและวางแผนก่อนเรียน
3. บทสาม การแบ่งตารางเรียนวิชาและประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน
4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน
5. บทห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน
6. บทหก การประชุมและแก้ปัญหาโครงงาน
7. บทเจ็ด สรุปโครงงานและทำรายงาน
8. บทแปด ส่งมอบรายงานและจัดเก็บเงินค่าเทอม
9. บทเก้า ประสบการณ์ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

แนะนำ โรงเรียน PPMS

โรงเรียน PPMS ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริง

By ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันจากรุ่นต่อรุ่น
และขยายวงกว้างไปสู่อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าและปิโตรเคมีหลายแห่ง
ไม่เว้นแต่โรงน้ำตาลหรือโรงกระดาษ นักเรียนที่จบการศึกษา
บางคนไปประกอบกิจการส่วนตัว บางคนได้ดีในตำแหน่งหน้าที่การงานใหม่
ผลจากการสั่งสมประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับมา ทำให้ศิษย์เก่าทั้งหลายหลังจากออก
จากโรงเรียนมาได้ดีเกือบทุกคน โดยมีผอ.ที่เข้มงวดมากที่สุดคอยผลักดันไปจนได้ดี
หากไม่เจออาจารย์ปกครองไม่บีบบังคับกดดันจนออกซะก่อน
หรือนักการภารโรงนินทาว่าร้ายและคอยรายงานทุกเรื่องจนต้องออกจากโรงเรียนไปก็มี
(บางเรื่องสมมติขึ้นเพื่อให้เรื่องน่าติดตามต่อไปนะ)

By ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม