วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

2. บทสอง การเตรียมข้อมูลวิชาโครงงานและวางแผนก่อนเรียน

กลับอีกครั้ง มาต่อกันในบทสอง

2. บทสอง การเตรียมข้อมูลวิชาโครงงานและวางแผนก่อนเรียน

เราจะเริ่มเตรียมข้อมูลวิชาโครงงาน ซึ่งคุณจะต้องไปเรียนภาคสนามส่วนใหญ่
วิชาที่เราจะได้เรียนได้จำแนกกลุ่มดังนี้
1. โรงไฟฟ้า (EGAT, RGCO, KEGCO, BLCP,SAHACOGEN etc.)
2. โรงกลั่นและปิโตรเคมี (IRPC, PTT, BCP, etc.)
3. โรงปูนซีเมนต์และกระดาษ (SCG, TPIPL, PANJAPHOL, etc.)
4. โรงน้ำตาลและโรงสีข้าว ( KASETPHOL, CHIAMENG, etc.)
5. ท่าเรือและถังน้ำมัน (ปกติวิชาจะอยู่ในโรงกลั่นแต่ ความจำเพาะพิเศษบางอย่างจึงต้องแยกออกมาให้ชัดเจน)

ท่านจะได้พบกับอาจารย์ประจำวิชาก็ เรียกได้ว่าเป็น ผู้ดูแลหรือผู้ควบคุมประจำวิชาโครงงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
อาจจะไม่ใช่คนเดิม แล้วแต่คุณอยู่สังกัดวิชาส่วนไหน แล้วอาจารย์ประจำชั้นคุณเป็นใครกัน?

ในหนึ่งวิชาโครงงาน คุณจะได้รับผิดชอบหน้าที่ในตำแหน่งตามลำดับดังนี้
1. Site Manager ผู้จัดการภาคสนาม (ส่วนใหญ่อาจารย์ประจำชั้นอาจจะควบตำแหน่งนี้ด้วย)
2. Site Engineer วิศวกรภาคสนาม
3. Safty Officer เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ (ในบางครั้งอาจจะมีแค่ Technical Safety เท่านั้น)
4. QC Technician/Foreman เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ (ภาคงานประกอบเชื่อมและการตรวจสอบ NDE)
5. Technician/Foreman หัวหน้างานช่าง (ภาคงานประกอบเชื่อมและการตรวจสอบ Visual)
6. Technician/Foreman หัวหน้างานช่าง (ภาคงานบริการตรวจซ่อมบำรุง)
7. Admin Document/Store ผู้ดูแลประสานงานและจัดการเอกสารงานและคลังพัสดุ

ก็จำแนกตามความรับผิดชอบได้ 7 ส่วนงานข้างต้น หากเป็นวิชาโครงงานระยะสั้น
อาจไม่ต้องมีตำแหน่งที่ 7 ก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ความรับผิดชอบจะไปตกอยู่ในตำแหน่งที่ 2 ซะส่วนใหญ่
และต้องเป็นคนทำรายงานส่งอาจารย์ตลอดวิชาโครงงาน ไม่แน่คุณอาจจะทำได้ทุกตำแหน่งก็ได้นะ

เอาล่ะก่อนจะเริ่มเรียนในแต่ละวิชา เรามาดูสิว่าจะต้องเตรียมอะไรกันบ้าง (Bidding)

1.ข้อมูลประกอบพิจารณารายวิชา (วัตถุประสงค์และขอบเขตการฝึกสอนรายวิชา)
2. ตารางราคาและวัสดุอุปกรณ์ประกอบวิชาโครงงาน(BOQ and Materials)
3. แผนผังแบบและตารางเวลาวิชาโครงงาน(Drawing and Schedule)
4. ตารางจัดตำแหน่งรับผิดชอบและกำลังคนประกอบวิชาโครงงาน(Organizing and Man power)
5. เงื่อนไขเฉพาะวิชาโครงงาน
6. เงื่อนไขด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยประจำวิชาโครงงาน
7. ข้อกำหนดเก็บเงินรายวิชาและส่งรายงานอนุมัติผลการเรียน(Payment and Submittal Report)

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเตรียมการก่อนที่คุณจะเรียนแต่ละวิชา
บางครั้งคุณมีเวลาไม่เกิน 2-3 วัน ก็จะเริ่มเปิดภาคเรียนแล้วดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝน
การเตรียมข้อมูลให้เกิดความชำนาญก่อนเริ่มเรียน ใช้เวลาพิจารณาข้อมูลทั้งหมดให้เข้าใจก่อนจะจำแนก
รายละเอียดและจัดการดังนี้
1. หาคำ KEYS WORD ข้อมูลรายวิชา ว่าต้องการอะไร มีสาระสำคัญอะไรบ้าง ให้เวลา 1 ชั่วโมงจับประเด็นให้ถูกต้อง
2. นำ KEYS WORD มาเขียนแผนผังเชื่อมโยงโครงงานทั้งหมดและจัดเป็นตาราง EXCEL (MICROSOFT PROJECT)
3. ถอดปริมาณวัสดุและจำแนกประเภท เพื่อสอบถามราคาวัสดุเบื้องต้น จากข้อมูลแผนผังแบบและตารางรายวิชาโครงงาน
4. เมื่อได้ราคาวัสดุ ก็กำหนดตารางราคาและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบโครงงาน
5. ระหว่างนั้นก็ประชุมผู้ร่วมเรียนกลุ่มจัดตำแหน่งรับผิดชอบและกำลังคนประกอบวิชาโครงงาน และจัดทำตารางเสนอ
6. จัดทำเอกสารประกอบเพิ่มเติมในการนำเสนอโครงงาน เพราะอาจารย์ประจำวิชาจะให้คุณนำเสนอก่อนเริ่มเรียนเสมอ
7. สาระสำคัญที่จะให้คุณต้องเตรียมเพื่อนำเสนอได้แก่
7.1.แผนผังกลุ่มโครงงานของคุณ (ข้อมูลสวยหรู แต่ทำจริงไม่ได้ อย่านำเสนอเป็นอันขาด)
7.2.แผนผังระยะเวลาโครงงาน(มันจะบอกว่าคุณจะสามารถเรียนได้จนจบตามตารางการสอน)
7.3.ประวัติการเรียนที่ผ่านของกลุ่มผู้เรียนวิชาและใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมที่รับรองว่าเข้าพื้นที่ภาคสนามพิเศษได้
7.4.แผนโครงงานในส่วนขั้นตอนการตรวจสอบงานเชื่อมและทดสอบ NDE (ถ้ามี)
7.5.แผนผังแบบที่ปรับปรุงข้อมูลแล้วก่อนเริ่มเรียนจริง(หากข้อมูลรายวิชาไม่ได้กำหนดออกแบบมาให้ตั้งแต่ต้น)
8.ข้อมูลเทคนิคในการนำเสนอก่อนเริ่มเรียนวิชาโครงงาน (คุณต้องคำนวณการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรและโครงสร้างที่ต้องได้รับอนุมัติก่อนดำเนินการ)
9.แบบฟอร์มตารางรายงานและติดตามผลการเรียนวิชาโครงงาน (ส่วนนี้อาจารย์ประจำวิชาจะแจ้งเมื่อเริ่มการนำเสนอโครงงานครั้งแรก)

หลักสำคัญในการเริ่มเรียนแต่ละวิชา คุณจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อน และจัดเรียงข้อมูลลำดับความสำคัญว่าสิ่งควรทำก่อนหลัง
ดังนั้นหากคุณมีเวลาเตรียมข้อมูลรายวิชา มากน้อยเท่าใด แต่ไม่สำคัญเท่าคุณจัดลำดับมันถูกหรือไม่
หากคุณเริ่มเตรียมจากสุดท้ายมาหาสิ่งแรกที่ต้องทำแล้วก็ คุณก็ทำมันไม่ทันเท่านั้นแหละ

แล้วติดตามต่อใน บทสอง (ต่อ) ภาค วางแผนก่อนเรียน นะ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

หลักสูตรการเรียนการสอน PPMS

หลักสูตรการเรียนการสอน
ที่นี่ไม่ได้จำกัดระยะเวลาว่าคุณจะต้องเรียนกี่ปี ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1.หลักสูตรเร่งรัดระยะสั้น 6 เดือนหรือ 1-2 ปี ก็แล้วแต่ความต้องการของคุณ
สำหรับผู้ที่มีความหวังกับแหล่งการศึกษาใหม่ หรือกำลังรอผลการสอบที่อื่นอยู่
2.หลักสูตรปกติของโรงเรียนนี้อยู่ที่ 4-5 ปี หากเกินกว่านี้แสดงคุณยังเรียนตกบางวิชาหรือสอบซ่อมบางวิชาที่ไม่ผ่านอยู่
หรือยังมีรายงาานทำส่งอาจารย์ไม่เสร็จก็เลยไม่ผ่านวิชานั้นไปได้
3.หลักสูตรระยะยาวนั้นตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปสำหรับบุคคลไม่รีบร้อนค่อยๆเรียนรู้กันไป
โดยลงวิชาน้อยไปทำให้มีเวลาว่างเยอะหรือยังไม่มีจุดหมายในชีวิตที่แน่นอน
 เพราะต้องการศึกษาวิชาโดยละเอียดและอ่านบทเรียนซ้ำไปซ้ำมาเพื่อที่จะแตกฉานในแต่ละวิชาก่อนจบการศึกษา

ต่อไปนี้จะเริ่มเข้าสู่บทเรียนวิชา PPMS ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 9 บทดังนี้
1. บทแรก สัมภาษณ์และเริ่มเข้าเรียน
2. บทสอง เตรียมข้อมูลวิชาโครงงานและวางแผนก่อนเรียน
3. บทสาม การแบ่งตารางเรียนวิชาและประสานงานเพื่อเริ่มโครงงาน
4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน
5. บทห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน
6. บทหก การประชุมและแก้ปัญหาโครงงาน
7. บทเจ็ด สรุปโครงงานและทำรายงาน
8. บทแปด ส่งมอบรายงานและจัดเก็บเงินค่าเทอม
9. บทเก้า ประสบการณ์ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

แนะนำ โรงเรียน PPMS

โรงเรียน PPMS ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริง

By ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันจากรุ่นต่อรุ่น
และขยายวงกว้างไปสู่อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าและปิโตรเคมีหลายแห่ง
ไม่เว้นแต่โรงน้ำตาลหรือโรงกระดาษ นักเรียนที่จบการศึกษา
บางคนไปประกอบกิจการส่วนตัว บางคนได้ดีในตำแหน่งหน้าที่การงานใหม่
ผลจากการสั่งสมประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับมา ทำให้ศิษย์เก่าทั้งหลายหลังจากออก
จากโรงเรียนมาได้ดีเกือบทุกคน โดยมีผอ.ที่เข้มงวดมากที่สุดคอยผลักดันไปจนได้ดี
หากไม่เจออาจารย์ปกครองไม่บีบบังคับกดดันจนออกซะก่อน
หรือนักการภารโรงนินทาว่าร้ายและคอยรายงานทุกเรื่องจนต้องออกจากโรงเรียนไปก็มี
(บางเรื่องสมมติขึ้นเพื่อให้เรื่องน่าติดตามต่อไปนะ)

By ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม