วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 2)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 2)

สวัสดีครับกลับมาแล้ว ทิ้งท้ายปี 2555 หัวเราะส่งท้ายปีกับภาคต่อกันในหมวดวิเคราะห์โครงงานกลุ่มโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
ต่อไปนี้เราจะเข้าเรื่องในกระบวนการหม้อต้มไอน้ำให้เข้าใจในแก่นแท้ของระบบไอน้ำกันว่าทำงานกันอย่างไร

เริ่มวิเคราะห์กระบวนการสามารถแยกออกได้ 4 ระบบคือ
1. ส่งกำลังน้ำเลี้ยง (Boiler Feeding)    ระบบนี้จะทำหน้าที่นำส่งน้ำดิบอุ่นๆเข้าหม้อต้มไอน้ำ จากถังพักน้ำดิบ (Demins Tank) ผ่านอุปกรณ์ปั๊มน้ำแรงดันสูง (Boiler Feed Pump)
ส่งน้ำเลี้ยงเข้าหม้อต้มไอน้ำ ผ่านถังพักไอน้ำ มีด้วยกัน สองถังคือ ถังพักไอน้ำแรงดันต่ำ(Low pressure/Water Drum)และถังพักไอน้ำแรงดันสูง(High pressure/Steam Drum) อาจจะมีถังพักที่สามระหว่างถังทั้งสองนี้
หากเป็นระบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น(Intermidiating Drum) ถังพักไอน้ำจะถูกเชื่อมต่อด้วยท่อขนาดเล็กขดเลื่อยเป็นตัวยู(U) หรืองูเลื้อยก็ได้แล้วแต่การออกแบบหม้อไอน้ำ
และอาจจะมีท่อผนังหม้อไอน้ำเป็นแผงเชื่อมอีกด้วยก็ได้(Wall tube) จะว่าไปแล้วรูปแบบก็แตกต่างกันในแต่ละหม้อไอน้ำที่ออกแบบมาไม่เหมือนโดยหลักก็มีท่อขดอยู่ในหม้อไอน้ำละกัน
2. ต้มเดือดและเปลี่ยนความร้อน (Boiler Evaporating and Economizing/Heat Exchanger)    ระบบนี้จะทำหน้าที่นำความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมาต้มเดือดน้ำในท่อที่ขดอยู่ในหม้อไอน้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ กระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนความจากการเผาไหม้โอนถ่ายมาสู่น้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ
เมื่อน้ำเดือดในขึ้นแรกเป็นไอน้ำในส่วนนี้จะระเหยเป็นไอน้ำจากถังพัก เข้าสู่กระบวนการต่อไป
3. การคัดแยกและขยายกำลังส่ง (Boiler Seperating and Pressure Expansing)    ระบบนี้จะทำหน้าที่คัดแยกไอน้ำในถังพักแรก เพื่อแยกส่วนน้ำออกจากไอน้ำและส่งไอน้ำกลับเข้าสู่หม้อไอน้ำอีกครั้งเพื่อเข้ากระบวนการแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไอน้ำให้มีสถานะจากไอเปียกเป็นไอแห้ง
(แสบคอจัง..แค๊กๆ) และมีสถานะแรงดันมากขึ้นเข้าขั้นเป็นยอดไอน้ำที่สามารถใช้งานได้ผ่านถังพักที่สอง เพื่อส่งผ่านเข้าไปในส่วนกังหันไอน้ำและปั่นกระแสไฟฟ้าได้ต่อไป
4. เปลี่ยนสถานะและกลับคืนประสิทธิภาพ ( Boiler Condensing and Return Performancing)    ระบบนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะไอน้ำควบแน่นกลับคืนสู่สถานะน้ำและคืนประสิทธิภาพไอน้ำอุ่นผ่านอุปกรณ์น้ำแรงดันสูงอีกครั้ง แต่สำหรับส่วนเหลือน้ำทิ้งจากกังหันไอน้ำจะส่งผ่านไปหอระบายความร้อน(Cooling Tower) และน้ำทิ้งสู่บ่อพักน้ำบำบัดก่อนนำไปใช้ในระบบอื่นๆต่อไป

จากที่อธิบายไประบบทั้งหมดนี้เป็นแค่กระบวนการหลักของหม้อต้มไอน้ำที่จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อไปส่งกำลังให้กังหันไอน้ำทำงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ที่ทำหน้าที่ควบคุมและรักษาการทำงานของหม้อต้มไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Dearator Tank, Flash Tank,Blow Down Tank, Steam Seperator pot, Silincer Valve, Steam trap, Water Sray Nozzle Feeder, etc. (เยอะจัง)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยการทำงานของหม้อไอน้ำมีคุณภาพที่ดี แต่สำหรับกังหันไอน้ำ(Steam Turbine)แล้วยังมีอุปกรณ์เกี่ยวพ่วงในการทำงานอีกสองตัวหลัก คือ FD Fan และ ID Fan มันคืออะไรจะอธิบายให้ฟังต่อไปในปีหน้าละกัน
เออ...ดูแล้วบทนี้จะเป็นอภิมหาตำนานที่เล่าได้ยาวอีกหลายตอนเชียวแหละ แค่เรื่องกลุ่มโรงไฟฟ้าแรกก็จะต่อเป็นภาคสาม อีกแล้ว

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ)

กลับมาแล้วกับภาคต่อ บทสี่ ครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้หลักการสั่งซื้อไปแล้ว คราวนี้จะเข้าถึงการวิเคราะห์โครงงานตามกลุ่มกัน
เริ่มกันเลยกับกลุ่มแรก หมวดกลุ่มโรงไฟฟ้า
เมื่อนึกถึงอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะคิดถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
หากจำแนกประเภทตามการผลิตจะแยกได้เป็น 4 ส่วน คือ

1. เขื่อนน้ำ ( เขื่อนภูมิพล, เขื่อนสิริกิต, เขื่อนอุบลรัตน์(น้ำพอง) ฯลฯ)

2. โรงกังหันไอน้ำ ( กฟผ. แม่เมาะ, กฟผ. พระนครใต้-พระนครเหนือ, กฟผ. วังน้อย, กฟผ. แก่งคอย, กฟผ. จะนะ ฯลฯ )

3. โรงกังหันลม ( โรงพิกัดอยู่ทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ แนวสันเขา ติดตามข้อมูลเอาเองนะ เป็นทางเลือกพลังงานทดแทนใหม่)

4. โรงแสงอาทิตย์ ( โรงงานหลักอยู่พระนครศรีอยุธยา เหล็ก Solar Farm เริ่มมีในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พลังงานทดแทนอนาคตใหม่)

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คงจะไม่ขอเอ่ยถึงละกัน เพราะยังไม่มีข้อมูลมากนัก และไม่คิดว่าจะเริ่มได้ในประเทศไทย

ส่วนแรกเขื่ิอนน้ำจะไม่ขอเข้ารายละเอียดมากนักเพราะส่วนนี้จะมีแต่หน่วยงานของ กฟผ.เท่านั้นที่ทำแต่ใช่เราจะไม่โอกาสเรียนรู้เลยนะ หากสนใจลองเข้าไปดูในเว็บของ กฟผ. เองละกันครับ

ต่อไปนี้จะขอเข้าเรื่องในส่วนของ โรงกังหันไอน้ำ
โรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
หากจำแนกตามวัตถุดิบการผลิตต้นทางแล้วละก็ จะจำแนกได้ดังนี้
1. เชื้อเพลิงพลังงาน
   - ถ่านหิน (กฟผ. แม่เมาะ , BLCP, GLOW, EGCO)
   - น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. พระนครใต้-พระนครเหนือ, กฟผ. วังน้อย, กฟผ. แก่งคอย, กฟผ. จะนะ, RGCO, EGCO, GLOW เป็นต้น)
   - กากของเสียและวัตถุดิบพืชไม้ (กากน้ำมันเสียและวัสดุเจือปน, กากเมล็ดปาล์ม, เปลือกข้าว, ฟางข้าวโพด, ชานอ้อย, กากเมล็ดกาแฟ เป็นต้น)
ในส่วนนี้จะต้องถูกเผาไหม้เป็นพลังงานความร้อนให้กับข้อต่อไป
2. น้ำดิบ
    ส่วนนี้จะถูกพลังงานความร้อนทำให้เดือดเป็นไอน้ำ (Steam) และเกิดแรงดันเพื่อไปขับเคลื่อนกังหัน ในส่วนกระบวนการนี้เรียกว่า หม้อไอน้ำ (Boiler) เวลานึกถึงส่วนนี้ ให้คิดถึงกาต้มน้ำร้อนที่เป็นแบบเก่า ต้องใช้เตาถ่านหรือเตาแก๊ส ตรงปลายปากของกาต้มน้ำจะมีไอน้ำออกมา ตรงนี้แหละ
เป็นผลผลิตของส่วนนี้แหละครับ หากจะเจาะลึกในกระบวนการจะยกอธิบายในส่วนต่อไปอีกที
3. กระแสไฟฟ้าและลมขับเคลื่อนกังหัน
  - กระแสไฟฟ้าเป็นวัตถุดิบต้นทางเริ่มแรกเพื่อขับกังหันก่อนให้เคลื่อนตัวก่อนทำงาน หากไม่มีกระแสไฟฟ้าจะทำไงล่ะ ก็มือหมุนเอาสินะ...ไม่หรอกครับล้อเล่น
ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่จะมีไฟสำรองสำหรับการทำงานส่วนนี้เสมอนอกจากจะฉุกเฉินจริงๆ
  - ลมขับเคลื่อนกังหัน เป็นวัตถุดิบต้นทางส่วนที่สองเพื่อขับกังหันให้เคลื่อนตัวเช่นกัน แต่จะเกี่ยวข้องในส่วนอุปกรณ์ควบคุมและบังคับตัวกังหัน
แล้วหากไม่มีลมล่ะ ก็ทำงานไม่ได้นะสิ ดังนั้นส่วนใหญ่ โรงไฟฟ้าจะมีถังพักลมเก็บไว้เสมออย่าลืมนะ

เมื่อรู้ต้นทางแล้วจะต้องทราบปลายทางคือ ผลผลิต ว่ามีอะไรบ้างดังนี้

1. ส่วนเชื้อเพลิง เมื่อถูกเผาไหม้แล้วจะผ่านหม้อไอน้ำออกทางปล่องไฟ (Stack) แต่ก่อนจะออกปล่องไฟได้จะต้องผ่านกระบวนการตรวจจับและคัดแยกของเสียก่อน
    หากเผาไหม้สมบูรณ์ ไม่มีของเสียเลยจึงจะผ่านปล่องไฟออกไปได้ นี่คือหลักการที่ต้องควบคุมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา มาตรฐานสิ่งแวดล้อมนะครับ
    Green Energy ส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ  เอ...แต่ถ้าพลังงานความร้อนยังเหลือจะนำกลับมาใช้ได้อีกหรือไม่ ? คำตอบคือได้ครับ ก็นำมาอุ่นไอน้ำอีกครั้งไง
    เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์เปล่า ไอน้ำที่อุ่นซ้ำได้เรียกว่า Superheat Steam เพื่อที่จะใช้งานได้อีกครั้ง
2. ส่วนน้ำดิบ เมื่อพลังความร้อนต้มเดือดเป็นไอน้ำแล้ว จะถูกอุ่นเป็นซ้ำเป็นไอน้ำสัมพัทธ์ ก่อนส่งไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป
    แล้วไอน้ำที่ผ่านกังหันแล้วจะไปไหน ส่วนหนึ่งแปลงกลับมาเป็นน้ำร้อนแล้วกระบวนการลดอุณหภูมิผ่านอาคารระบายความร้อน(Cooling Tower) แล้วกลับใช้กลับมาใช้งานอีกครั้ง
  สำหรับส่วนที่ยังมีไอน้ำแฝงอยู่จะผ่านกระบวนการต้มก่อนส่งไปโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตต่อไป ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม
  หรือโรงไฟฟ้าขนาดกลางและย่อม
3. กระแสไฟฟ้า คือผลผลิตหลักในกระบวนการทั้งหมด กังหันไอน้ำ(Steam Turbine) ขับเคลื่อนเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า (Generator) หากในรถยนต์ก็ ไดนาโมเนี่ยแหละ
   มีกระแสไฟฟ้าสำรองคือ แบตเตอรี่เลี้ยงไว้ให้ทำงานได้ตลอด พอจะนึกออกรึยังว่าโรงไฟฟ้ามีหลักการทำงานอย่างไร

ต่อไปจะเจาะลึกรายละเอียดในกระบวนการของหม้อต้มไอน้ำแต่ว่าเมื่อยแล้วล่ะก็ฝากไว้คราวหน้าจะมาอธิบายต่อไปนะ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน
เอ...จะเริ่มต้นอย่างไรดีนะ

วันก่อนได้ไปเยี่ยมสถาบันศึกษาเก่าฯ ไม่ได้เจอกันได้ไปนั่งกินกันหลังสถาบัน
มีเรื่องอยากจะแชร์กัน ทุกวันนี้ สถาบันศึกษามี 4 ภารกิจหลัก แต่กลับละเลยภารกิจหลักสำคัญไป
ภารกิจที่ว่าคือ การผลิตบัณทิตสู่ภาคตลาดเศรษฐกิจและสังคม แต่เดี๋ยวนี้ความสำคัญอยู่ตรงไหน
ก็ภาคการเรียนรู้เดี๋ยวนี้ คณาจารย์บางท่านมิได้มุ่งเน้นจะสอนนักศึกษาอย่างยิ่งจัง กลับเอาเวลาไปมุ่งเน้น
ที่การพัฒนาวิชาการและงานวิจัยให้ภาคตลาดอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งนำเงินมาบริหารภาคการศึกษาแต่ผลประโยชน์หลัก
อยู่ที่ตัวคณาจารย์ได้รับเงินสนับสนุน เงินเดือนไม่พอใช้แล้วต้องพึ่งเงินจากนอกสถาบันฯมาเลี้ยงตัวเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่
ทำให้การใส่ใจในการสอนนักศึกษา มีน้อยลง แล้วนักศึกษาหน้าใหม่จะทำอย่างไร เรียนรู้ด้วยตัวเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
หากใครประจบอาจารย์เก่ง ก็ได้แนวข้อสอบ เข้ากลุ่มเก็งข้อสอบให้เรียนผ่านไปวันๆ หากจะทำความเข้าใจก็พึ่งห้องสมุดละกัน
" อนาคตการศึกษายุคใหม่ นักศึกษาไม่ต้องไปเรียนที่สถาบันแล้ว นั่งเรียนอยู่หน้าอินเตอร์เน็ตเครื่องคอมพิวเตอร์และแล็บท็อป ก็จบปริญญาได้แล้ว"
จงจำไว้เรียนศึกษาเพื่อธุรกิจสังคม และทำงานเพื่อเรียนรู้จะเป็นเจ้าของกิจการ หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ก็อ่านบทความเพื่อเรียนรู้ต่อไป

เมื่อเริ่มโครงงานการสอบถามราคาเพื่อสั่งซื้อวัสดุและเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้งานก่อนนะ
แบ่งลำดับวิธีการสั่งซื้อได้ดังนี้
1. การเลือกกลุ่มวัสดุและเครื่องมือ ออกเป็นประเภท เช่น กลุ่ม Hand Tools/Electrical Tools/Gas Tools/Welding Tools/Cutting Tools/Special Tools เป็นต้น
2. เลือกเซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่าย ให้จำเฉพาะกลุ่มที่จะสอบถามราคา ต้องมีอย่างน้อย 3 ตัวเลือกเป็นเกณฑ์
3. ส่งรายการตามกลุ่มที่แยกไว้ไปให้เซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่ายที่เลือก
4. เมื่อส่งไปแล้วต้องติดตามทันทีและขอคำตอบที่จะได้รับว่าเมื่อใด หากไม่ได้รับคำตอบต้องเลือกใหม่ให้คำตอบที่ดีที่สุด
5. เมื่อได้รับราคาแล้วนำมาเปรียบเทียบราคาและข้อมูลประกอบกลุ่มวัสดุนั้นๆว่าตรงตามสเป็คที่ต้องการหรือไม่ แล้วเลือกคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

คำตอบที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาแต่สำคัญว่าตรงสเป็คที่ต้องการใช้งานหรือไม่  ราคาอาจจะเป็นลำดับที่ 2 ก็ได้ จงคิดไว้เสมอว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับมาก่อนเสมอ

สำหรับข้อมูลเซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่าย จะหาได้จากไหนล่ะ?
ก็เดินไปหาแผนกธุรการจัดซื้อโครงงานสิ เค้าจะมีข้อมูลให้คุณเกือบครบแหละ และเลือกหมวดหมู่กลุ่มที่คุณต้องการก็สามารถหาได้ง่ายขึ้นด้วยนะ

แต่หากเค้าไม่มีข้อมูลที่คุณต้องการจะไปหาใครได้อีกละ ก็ไปถามอาจารย์กู....กูเกิ้ล(Google)ไง รู้ทุกเรื่องและแหล่งข้อมูลรู้ทุกเรื่องแหละ ยกเว้นจะพิมพ์เรื่องผิดเท่านั้นแหละ

ธุรการไม่มีหน้าที่ตัดสินใจสั่งซื้อให้คุณได้หรอก คุณต้องเลือกเองนะ เค้ารู้เพียงข้อมูลที่คุณต้องการได้รับ การตัดสินใจเป็นของคุณครับ และต้องผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ใหญ่ด้วยนะ
ไม่งั้นหากคุณเลือกสั่งซื้อตามใจตนเองทั้งหมด อาจจะต้องควักกระเป๋าตัวเองด้วยนะ

เมื่อผ่านขั้นตอนการสั่งซื้อแล้ว จะพาคุณไปสู่การตรวจรับสินค้า ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญลำดับถัดมา
กำหนดส่งสินค้า เมื่อไหร่?
สภาพสินค้าสมบูรณ์ มีตำหนิหรือไม่?
เอกสารรับรองสินค้า มีหรือไม่? รายละเอียดตรงตามสเป็คหรือไม่?
ตรวจรหัสสินค้า องค์ประกอบสินค้า คุณสมบัติครบหรือไม่?
ส่งมอบและรับสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว? กรรมสิทธิ์ในการครอบครองเป็นของคุณแล้วครับ มีแต่การรับประกันตัวสินค้าหากเกิดผิดพลาดแล้วไม่ส่งคืนภายใน 7 วัน
คุณรับผิดชอบเองนะ เค้าไม่รับผิดชอบให้คุณหรอกครับ

ประเด็นเหล่านี้คุณอาจจะไม่พบเจอแต่ คุณที่รับของให้คุณต้องเจอ ต้องบอกให้เค้าระมัดระวังด้วยไม่งั้น เสียเงินฟรีสิครับ

การวิเคราะห์โครงงาน
สิ่งที่ต้องรู้ทำความเข้าใจกันก่อนเริ่มดำเนินโครงงาน คุณรู้รายละเอียดของโครงงานที่คุณจะทำแล้วรึยัง?
หากยังไม่รู้ให้ศึกษารูปแบบ ระบบขั้นตอน และจุดมุ่งหมายของโครงงานให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเริ่มงานกัน
ความเข้าใจมีหลัก 3 M ให้รู้ไว้คือ Man Money Machine (คนทำงาน เงินต้นทุนและค่าใช้จ่าย เครื่องจักรและอุปกรณ์)
มีอยู่ในทุกระบบโครงงานที่คุณจะต้องควบคุมให้อยู่หมัด หากการทำงานส่วนใดส่วนหนึ่งผิดพลาด นั่นคือผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานน้อยลง
เมื่อจบโครงงานคุณต้องตอบคำถามอาจารย์ใหญ่ได้ว่าอะไรคือสาเหตุของความผิดพลาดเหล่านั้น ผมว่าคุณต้องตอบได้นะ หากคุณได้ทำโครงงานนั้นอย่างจริงจัง

เราจะเริ่มการวิเคราะห์จากที่เคยแยกกลุ่มวิชาโครงงานไปแล้วในบทที่สองกันครับ
เราจะมาเจาะลึกกับกลุ่มในแต่ละประเภทกันครับ แต่ว่าคงต้องยกไปในตอนต่อไปแล้วละกัน

ผมรู้เพลียแล้วขอพักไว้ก่อนนะ...แล้วติดตามกันต่อไป

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม