วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

5. บทห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน

บทที่ห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน
เมื่อเรียนโครงงานปฏิบัติภาคสนามจริง

กลับมากันแล้วครับ ต่อไปนี้จะเป็นบทเรียนแนวทางการทดสอบและติดตามผลการเรียนกัน
ทุกท่านได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้วประสบพบเจออะไรบ้างช่วยแบ่งปันกันบ้างนะ
หากเราได้ติดตามข่าวที่เป็นผลกระทบของอุตสาหกรรมน้ำมันของบริษัทลูก ปตท.(pttgc)
ก็เป็นที่ทราบดีว่าการรั่วไหลท่อส่งน้ำมันดิบบริเวณใกล้เกาะเสม็ดทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณอ่าวพร้าว
ได้รับความเสียหายอย่างมาก สาเหตุท่อส่งมีปัญหาหรือกระบวนมีปัญหา จะเห็นได้ว่าระบบมาตรฐาน
ด้านความปลอดภัยนี้ต่ำมาก ไม่มีการป้องกัน ไม่มีการศึกษาปัญหาระบบแก้ไขเรื่องเหล่านี้มาก่อน
ทำให้การรั่วไหลกระจายออกไปเป็นวงกว้างและใช้ระยะเวลานาน จะบอกว่าสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยก็ได้ แต่การเรียนรู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดเป็นสิ่งสำคัญ มาตรฐานการซ่อมบำรุงรักษาและปฏิบัติการภาคสนามน้อยเกินไป เชื่อว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอนัก เป็นบทเรียนที่ ปตท. ต้องนำไปปรับปรุงในหน่วยองค์กรอย่างมาก หากบริษัทลูกอย่าง pttme มีส่วนในการรับผิดชอบและวางแผนซ่อมบำรุงและศึกษาป้องกันไปด้วยจะดีไม่น้อย เพราะการใช้หน่วยงานภายในองค์กรสร้างระบบการจัดการที่ครบวงจรจะดีที่สุดแต่เชื่อว่ายังมีปัญหาภายในองค์กรอยู่มากและยากที่แก้ไขได้

สำหรับบทความนี้ ผมมีบททดสอบการเรียนให้ทุกท่านอยู่ 5 ข้อดังนี้

1. แนะนำโครงงานเสนออาจารย์ใหญ่ ผ่านรายงานติดตามผลประจำวัน ประจำสัปดาห์
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
3. แนวทางการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
4. เทคนิคการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์ปัญหาตามระบบ
5. สรุปผลโครงงานโดยอาศัยปัจจัยข้อมูลเชิงวิชาการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน

จากบททดสอบทั้ง 5 ข้อ ผมจะยกตัวอย่างโครงงานและอธิบายตามหัวข้อดังนี้ครับ
โครงงาน ซ่อมบำรุงระบบคัดแยกกากปาล์มในโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

1. แนะนำโครงงาน ดังต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน ซ่อมบำรุงระบบคัดแยกกากปาล์มในโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

อธิบายระบบการทำงาน มี 3 ส่วนดังนี้
1. ขนส่งลำเลียง นำเมล็ดปาล์มขนส่งผ่านสายพานลำเลียงเข้าหม้อต้ม
2. หม้อต้มเค้นน้ำมัน ต้มน้ำร้อนให้น้ำมันระเหยออกจากเมล็ด และขนส่งลำเลียงต่อไป 
3. บดและบีบคัดแยกกาก เมล็ดที่ต้มร้อนจนน้ำมันออกแล้ว จะผ่านเครื่องบดและบีบเค้นแยกน้ำมันกับ
กากปาล์มออกมาสู่ระบบลำเลียงไปทิ้งต่อไป(กากนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงได้อีก)

แนวทางการซ่อมบำรุง มี 3 ส่วนเช่นกันดังนี้
1. ขนส่งลำเลียง ระบบสายพานลำเลียง แก้ไขล้อหมุน(Roller)ชำรุด วัดรอบมอเตอร์ขับสายพานและตั้งศูนย์สายพานใหม่ เช็คน้ำมันหล่อลื่น เช็คโครงสร้างรางสายพานที่ชำรุดสึกหรอ แก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
2. หม้อต้มเค้นน้ำมัน อุปกรณ์ต้มเดือดชำรุด อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและแรงดันชำรุด ตั้งค่าทดสอบมาตรฐานความเที่ยงตรงอุปกรณ์ โครงหม้อต้มชำรุดสึกหรอ แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
3. บดและบีบคัดแยกกาก อะไหล่สึกหรอหรือชำรุด แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

ประสิทธิภาพหลังการซ่อมบำรุง เมื่อแรกเริ่มก่อนโครงงาน เราควรได้สำรวจและวิเคราะห์โครงงานก่อน โดยประเมินผลการซ่อมบำรุงว่าจะทำได้ เป็นเปอร์เซ็นต์จาก 100 มีประสิทธิผลจริง 70-80 แล้วแต่ว่าสภาพเนื้องานนั้นทำได้มากน้อยเพียงใด ส่วนอีก 20-30 เป็นการสรุปติดตามผลหลังการทดสอบ
สำหรับโครงงานนี้ ได้ประเมินสภาพไว้ที่ 70 ก่อนการซ่อมบำรุง

ระยะเวลาดำเนินการซ่อมบำรุง เมื่อได้วางแผนแนวทางการซ่อมบำรุงไว้ระยะเวลาที่เหมาะสม
โดยแต่ละส่วนงานมีความเกี่ยวกับระบบการผลิตทั้งหมด 3 ส่วนจะแบ่งพาร์ทได้ดังนี้
1. ซ่อมบำรุงรายวัน เป็นการตรวจเช็คระบบเบื้องต้นก่อนซ่อมบำรุงหรือแก้ไขระบบที่ไม่กระทบการผลิต
2. ซ่อมบำรุงรายสัปดาห์ เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนอะไหล่ที่ใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 2-3 วัน หรือหยุดระบบเป็นบางช่วงเท่านั้น
3. ซ่อมบำรุงรายเดือน เป็นการซ่อมบำรุงใหญ่ที่ต้องหยุดระบบชั่วคราวเป็นบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมดอย่างเช่น ซ่อมบำรุงสายพานลำเลียงหรือเปลี่ยนล้อหมุนที่เสียหายชำรุดใหม่ ต้องหยุดระบบในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานของระบบลำเลียง ส่วนใหญ่ที่ไม่มีการขนส่งเมล็ดปาล์ม

แนวทางการทดสอบระบบและผลการทดสอบหลังการซ่อมบำรุง
ตามมาตรฐานการทดสอบ อย่างเช่น
ระบบสายพาน ทดสอบรันระบบลำเลียงวัดรอบ และศูนย์ถ่วงสายพาน
อุปกรณ์ต้มเดือด วัดอุณหภูมิและแรงดัน ตามค่ามาตรฐาน
เครื่องบดและบีบคัดแยกทำงานปกติหรือไม่

เอกสารข้อมูลทางเทคนิคประกอบ อุปกรณ์มาตรฐานต้องใบรับรองการทดสอบและบทวิชาการเปรียบเทียบมาตรฐานรับรองที่ยอมรับได้

บทที่ห้า ขอพักไว้เท่านี้ก่อนครับและติดต่อในหัวข้อ
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าสนใจในการทำโครงงานนี้บ้างนะ ต้องติดตามกัน
BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1. บทแรก(ต่อ) บทสัมภาษณ์ก่อนเข้าเรียน

เอาล่ะ กลับมาเจอกันอีกแล้ว
บทแรก(ต่อ)

บทสัมภาษณ์ก่อนเข้าเรียน

1. ทางบ้านคุณประกอบอาชีพอะไร มีกิจการส่วนตัวหรือไม่
หากตอบว่ามี บอกได้เลยว่าในอนาคตจบแล้ว คุณต้องกลับไปทำกิจการที่บ้าน ถ้าไม่ใช่ลูกคนสุดท้องหรือลูกสาวคนเดียวในบ้าน
2. ทางโรงเรียนต้องแน่ใจแล้วว่าคุณจะไม่มาที่นี่ พักพิงชั่วคราว เพื่อจะเป็นบันไดไปสู่โรงเรียนในฝันแห่งใหม่ เพราะทางโรงเรียนมีเวลาให้คุณตัดสินใจก่อน 4 เดือน
หากผ่านคุณก็อยู่ต่อไปได้(แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ต่อไป เพราะไม่มีใครบอกคุณว่าหลังจาก 4 เดือนคุณผ่านประเมินหรือยัง หากคุณยังมีวิชาที่เรียนไม่จบอยู่ ก็ผ่านอัติโนมัติ)
3. ทางโรงเรียนมีเบี้ยเลี้ยงให้สำหรับนักเรียนที่อยู่กินประจำ เป็นรายเดือน และเบี้ยขยันพิเศษสำหรับนักเรียน ที่ตั้งใจเรียนทุกวิชาโดยไม่มีวันหยุดตลอดปีการศึกษา
(คะแนนคุณจะขึ้นอยู่กับอาจารย์ประจำวิชา บางทีก็มีการประกาศผลประเมินออกมากลางเทอมก็มีด้วย)
4. เวลาคุณสัมภาษณ์กับผอ.โรงเรียน คุณต้องกล้าที่จะตอบคำถามทุกเรื่องและหากไม่แน่ใจในคำตอบต้อง ตอบว่าขอคิดดูก่อน หรือไม่รู้ไม่ทราบ แต่ต้องมีคำตอบทุกครั้ง
 ไม่ว่ามันจะช้าหรือเร็วไป สำหรับความเข้าใจของคุณ และอย่าสงสัยจนมากเกินไป เพราะมันหมายถึงว่าคุณแสดงความโง่ออกมามากจนเกินไป
 แต่การนิ่งเฉย โดยไม่ตอบอะไร ก็แสดงว่าคุณเหม่อลอย ไม่สนใจในสิ่งที่ถามได้เหมือนกัน  สิ่งที่ดีที่สุดคือคุณต้องพิจารณาในคำถามว่าสิ่งใดตอบได้หรือไม่
และตอบไปอย่างฉะฉานให้ดีที่สุดว่าใช่หรือไม่ ปฏิภาณไหวพริบต้องมีกันบ้าง แต่ถ้าแถไปอย่างศรีธนญชัย ก็เกินไปนะครับ

5. บุคคลที่จะผ่านสัมภาษณ์ได้ มีอยู่ 4 อย่างคือ
    5.1. คนซื่อ ขยัน มารยาทดี และมีสิ่งที่แอบแฝงเร้นในตัวเอง (ลูกบ้ารึป่าว?)
    5.2. คนฉลาด ใจกล้า มีปฏิภาณไหวพริบดี (มีภูมิต้านทานเยอะ)
    5.3. คนไม่เก่ง แต่มีไหวพริบ คำพูดคล่องดั่งปลาไหล (พวกนี้หัวหมอ)
    5.4. คนประจบเก่ง เส้นใหญ่ มีนายดีคอยส่งเสริม (พวกแมวเซา รายงานเก่ง)

แล้วคุณล่ะ เป็นแบบไหนใน 4 อย่างนี้

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1. บทแรก สัมภาษณ์และเริ่มเข้างาน

เอาล่ะ กลับมาเจอกันอีกครั้ง
เริ่มกันเลย สำหรับบทแรก

1. บทแรก สัมภาษณ์และเริ่มเข้าเรียน

     ตั้งแต่เริ่มแรก คุณรู้จักโรงเรียน PPMS จากที่ใด สำหรับผมรู้จักทางอินเตอร์เนต By JOBTHAI
ผมกรอกใบสมัครแนะนำตัวและรอสัมภาษณ์ หลังจากนั้นประมาณเดือนกว่า ธุรการโรงเรียน ก็โทรศัพท์ เรียกผมไปสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ในวันเดียวกัน คุณเคยเจอคำถามเหล่านี้ในข้อเขียนหรือไม่

- หินสองก้อนได้แก่ หิน A และหิน Bโยนขึ้นไปในอากาศ น้ำหนักเท่ากัน จงบอกว่าหินก้อนใด
ตกก่อนกัน (คำถามง่ายๆนี้ ใครก็ตอบได้ โดยหลักทางฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ เมื่อนำหนักและรูปทรงเหมือนกันหรือเท่ากัน ก็ต้องตกพร้อมกันสิครับ ...แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่าคำตอบจะผิดน่ะ ก็ลองดูใหม่สิ หิน A กับหิน B โอ้พระเจ้าไม่น่าเชื่อหิน Bบินได้ด้วย แบบนี้ก็มีนะ)

- หากมีน้ำ 1,000 ลิตรใส่ภาชนะกับก้อนเหล็ก 1 ตัน โดยไปชั่งน้ำหนักตราชั่งที่เทียบวัดเที่ยงตรงแม่นยำ ท่านคิดว่าระหว่างน้ำกับเหล็ก สิ่งใดที่มีน้ำหนักกว่ากัน (บางคนดูแค่วัตถุว่าเป็นเหล็กก็คิดว่าหนักมากกว่า แต่ผิดครับ คำตอบน้ำ 1,000 ลิตร เท่าำำำกับ 1 ตัน เหล็กกับน้ำก็น่าจะเท่ากันครับ แต่ก็ผิดอีกครับ...อย่าลืมสิครับน้ำใส่ภาชนะอยู่นะคิดภาชนะใดไม่มีน้ำหนักกัน ก็แหงล่ะ น้ำหนักกว่าเหล็กครับ อยู่ดี ก็บอกแล้วว่าน้ำหนัก)

- หากมีคนเปิดหลอดไฟหนึ่งดวงทิ้งไว้นานเป็นชั่วโมงและเพิ่งขาดไปและมีคนปิดมันไปเมื่อสักครู่นี้เอง และคุณก็ไม่รู้ว่าเค้าเพิ่งปิดไปดวงไหนที่หลอดขาด ห้องนั้นเป็นห้องปิดทึบไม่สามารถมองเห็นจากด้านนอก คุณได้รับมอบหมายเปลี่ยนหลอดไฟในห้องนั้นโดยมีโอกาสเข้าไปในห้องนั้นได้แค่ครั้งเดียวเพราะไม่กี่นาทีจะมีการใช้ห้องนั้นประชุมงานอีก โดยในห้องมีแค่โต๊ะประชุมกับเก้าอี้ที่สามารถยืนเปลี่ยนหลอดได้แค่นั้น คุณจะทำยังไงเพื่อที่จะรู้ว่าหลอดไฟ หลอดไหนที่ขาดและเพิ่งปิดไป ลืมบอกไปในห้องมีหลอดไฟอยู่ 4 ดวงและสวิตซ์อยู่นอกห้องนั้น (บางคนก็บอกว่าก่อนเข้าห้องก็เปิดไฟไว้ทั้งสี่ดวงเลย แค่ก็รู้แล้วว่าดวงไหนไม่ติด แต่นี่หลักการที่ปลอดภัยเพราะระหว่างที่คุณเปลี่ยนหลอดไฟที่เสียอยู่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟไม่ดูดคุณกัน

คำตอบคือ คุณประสาทสัมผัสทางกายที่ดีเยี่ยมจงใช้มันให้เกิดประโยชน์ ก่อนเข้าห้องสวิตซ์ไฟทั้งหมดถูกปิดอยู่ คุณยืนบนโต๊ะหรือเก้าอี้ประชุม(ไม่มีล้อเลื่อน)จับหลอดไฟทั้งหมดสี่ดวง เมื่อรู้จักว่าหลอดไฟใดที่ร้อนจัดกว่าดวงอื่นๆ หลอดไฟนั่นแหละที่คุณจะเปลี่ยนทันทีครับ)

ข้อเขียนเหล่านี้แค่ทดสอบความรู้พื้นฐานและไหวพริบในการตอบคำถามเท่านั้น
จงฝึกคิดไว้แหละดีครับ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 5จบ)


4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 5จบ)

กลับมาแล้วมาครับห่างหายไปนานเลย ช่วงนี้เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าทางใต้อยู่
ตอนนี้จะเห็นงานในแวดวงรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกกันมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น โรงไฟฟ้าไบโอดีเซล โรงไฟฟ้ากากพืชไร่ อ้อย ข้าวโพด ถั่วเหลือง
โรงไฟฟ้าจากเตาเผาขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ตอบรับกระแสการลงทุนมากขึ้น
หวังว่าเราจะมีการสร้างงานให้กลุ่มงานเหล่านี้ได้มากขึ้น

มาเริ่มเรื่องกันดีกว่าครับ โรงไฟฟ้าจากการผลิตปูนซีเมนต์ และการผลิตกระดาษ
ส่วนใหญ่พวกนี้จะมีระบบทำงานเหมือนๆกัน จำแนกได้ 3 ส่วนดังนี้
1.ส่วนการผลิตวัตถุดิบต้นทาง ได้แก่
- น้ำมันเตา/ดีเซล และกากน้ำมันเสีย เป็นวัตถุดิบต้นทาง
   ส่วนนี้จะนำส่งเข้าเตาเผาที่หัวจุดเตาเผาเพื่อเริ่มการเผาไหม้
- กระบวนการขนถ่ายสายพาน (Conveyer)
   ส่วนนี้จะลำเลียงการกากปูนหรือเปลือกไหม้ เพื่อแยกย่อยก่อนส่งเข้าเตาเผา
- แหล่งน้ำดิบและลมต้นทาง
   ส่วนนี้จะเก็บน้ำและลมส่งเลี้ยงระบบหม้อต้มเพื่อการผลิตไฟฟ้า

2.ส่วนกระบวนการผลิตไฟฟ้า ได้แก่
- กระบวนการลำเลียงส่งวัตถุดิบและน้ำเติม คือ ส่งส่วนกากแยกย่อยเข้าเตาเผาด้วยสายพาน
- กระบวนการต้มน้ำเดือด คือ การต้มน้ำผลิตไอน้ำด้วยเตาเผา
- กระบวนการส่งไอน้ำและผลิตไฟฟ้า คือ การลำเลียงส่งไอน้ำส่งกังหันผลิตไฟฟ้าจากเตาเผา

3.ส่วนผลิตผลปลายทาง ได้แก่
- กากเสียเหลือการผลิต คือ ขี้เถ้ากากปูน แกลบขี้เถ้าจากเปลือกไม้ ส่วนนี้จะใช้ในการผสมปูนทนไฟ
- น้ำเหลือการผลิต คือ น้ำที่เหลือทิ้งจากการต้มเดือดจะมีส่วนน้ำทิ้งนี้จะปล่อยบ่อบำบัด
   ก่อนส่งแหล่งน้ำธรรมชาติ
- ไอน้ำเหลือการผลิต คือ ส่วนเหลือใช้การส่งกังหันไอน้ำผลิตไฟฟ้าจะนำไปใช้ในการผลิตเพื่ออบปูน
   หรือเยื่อกระดาษต่อไป

อาจจะสงสัยว่าหินที่ใช้ผลิตปูนซีเมนต์นำมาผลิตต้มไอน้ำอย่างไร ไม่คิดมากไปเพราะหินส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าแต่อย่างใด การผลิตไฟ้ฟ้าด้วยเตาเผาอาศัยน้ำมันเตาและกากน้ำมันเสียเท่านั้น
แต่การผลิตกระดาษมีส่วนการเปลือกไม้ที่ไม่ใช้การผลิตกระดาษนำมาบดย่อยเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผา

ในโรงไฟฟ้าอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน คือ โรงสีข้าว โรงน้ำมันปาล์ม โรงน้ำมันถั่วเหลืองและข้าวโพด
โรงน้ำตาล โรงงานผลิตกาแฟ องค์ประกอบหลักได้แก่ เชื้อเพลิงต้นทาง สายพานลำเลียง เตาเผาต้มไอน้ำ กังหันไอน้ำผลิตไฟฟ้า

จะเห็นว่าโรงไฟฟ้าในกลุ่มนี้จะมีมากขึ้นเรื่อยๆตอบรับผลิตผลและความต้องการของโรงงานดังนั้น
โรงไฟฟ้าในโรงงานประเภทนี้ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเพราะจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลางผลิต
และมีกระแสไฟฟ้าเหลือใช้ขายคืนการไฟฟ้าอีกด้วย

หากคิดจะสร้างหมู่บ้านหรือโรงงาน ลองคิดหาทางเลือกการใช้ไฟฟ้าในการผลิตเหลือใช้บ้างก็ดีนะครับ
ไม่ว่าจะเป็น ฟางข้าว เปลือกข้าวจากการสี เปลือกเมล็ดพืช เปลือกไม้ แม้แต่ของเสียจากอุตสาหกรรมที่เผาไหม้ได้ ก็นำมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาต้มไอน้ำได้ทั้งนั้น แต่หม้อต้มไอน้ำลองดูผู้ผลิตที่ยอมรับได้
ส่วนใหญ่นำเข้าทั้งหมดแต่ก็มีผู้ผลิตในไทยสำหรับหม้อต้มไอน้ำขนาดเล็ก มีไม่กี่แหล่งหรอกครับลองหาดูละกัน

สำหรับเรื่องส่วนบทสี่ ก็จบไว้เพียงเท่านี้ การทำงานมีประสบการณ์มากมายไม่ได้หาได้จากสถานศึกษา
ลองสัมมนาและทัศนศึกษาโรงงานกับโรงไฟฟ้าทางเลือกแล้วคุณจะได้อะไรอีกเยอะครับ
แล้วพบกันใหม่ใน บทที่ห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 4)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 4)
กลับมาพบกันอีกครั้งในภาคต่อ  การวิเคราะห์โครงงานในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี จากประสบการณ์การทำงานในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมระยอง
เราได้รู้จักบริษัทที่ทำงานในกลุ่มนี้ได้แก่ ปตท. PTT และเครือ ได้แก่ PTTAR และPTTCH ปัจจุบันรวมกิจการเป็น PTTGC นอกจากนั้นก็จะมี IRPC เดิมเป็นของ TPI ถูกยึดอำนาจจาก ปตท.ที่ถือหุ้นใหญ่
และมีบริษัท เครือซีเมนต์ไทย ปูนใหญ่ SCG มีเครือกลุ่ม ได้แก่ SCC,SCCC นอกจากนั้นยังมีอีกหลายบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม เช่น VNT วินีไทย IVL อินโดรามา TOP ไทยออยล์ TPIPL ทีพีไอโพลีน เป็นต้น
รายชื่อบริษัทในกลุ่มนี้มีมากมาย แตกเป็นบริษัทเล็กบริษัทน้อยมากมาย แต่บริษัทหลักที่จะว่าเป็นมหาอำนาจในเครือนิคมระยองจะมีก็แต่ 2 บริษัทนี้เท่านั้น คือ ปตท. และ ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งดูแลกิจการบริษัทในเครือตั้งแต่
โรงไฟฟ้า โรงกลั่น ปิโตรเคมี และท่าเรือน้ำมันขนส่งเชื้อเพลิงต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การผลิตสารตั้งต้นวัสดุกลุ่มพลาสติกอีกด้วย

ระหว่างที่ผมกำลังพิมพ์บทความนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนโครงการใหม่จากที่ทำในนิคมอุตสาหกรรมระยองจากโรงกลั่นและปิโตรเคมี ได้เปลี่ยนรูปแบบงานจากทำโรงไฟฟ้าจากระบบท่อในหม้อต้มไอน้ำและกระบวนการ
ไปเป็นองค์ประกอบระบบท่อน้ำเลี้ยงหม้อต้มไอน้ำ คือ Water Treatment Piping ซึ่งจะจ่ายจากอาคารน้ำบำบัด มีท่อหลักได้แก่ Raw water,Service water,Demins water, Waste Water,Cooling Water เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ
ที่จะทำให้ระบบหม้อต้มไอน้ำทำงานได้ดี หากขาดน้ำเลี้ยงเหล่านี้ก็จะทำงานไม่ได้เลย ถือว่าผมมีโอกาสที่ดีได้สัมผัสงานในหลายๆส่วนมีประสบการณ์ที่สำคัญมาถ่ายทอดเล่าสู่กันอ่านต่อไปนะครับ

กลับมาเรื่องกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีกันดีกว่า จะว่าไปแล้วระบบกลุ่มนี้ก็มีโรงหม้อต้มไอน้ำอยู่ส่วนหนึ่งแต่จะต่างจากโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นหลักแต่ต้องการไอน้ำไปเลี้ยงระบบกระบวนการ(Process) การกลั่นและการผลิตปิโตรเคมี ไม่เว้นอุตสาหกรรมอื่นๆ พลาสติก เหล็ก ผ้า เครื่องหนัง ยาง อาหาร จำเป็นต้องใช้ไอน้ำเข้ามาใช้ในกระบวนการทั้งนั้น สำหรับหม้อต้มไอน้ำในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะวิเคราะห์ได้ดังนี้
1.กระบวนการต้นทาง มีองค์ประกอบ ได้แก่
1.1 ต้นเชื้อเพลิง คือ เชื้อเพลิงในการเผาไหม้การผลิตเพื่อการผลิตปิโตรเคมี กลั่นน้ำมัน (น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันเหลือใช้ต่างๆ)
1.2 วัตถุดิบ คือ ต้นทุนการผลิต ที่นำมาใช้ ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ วัตถุต้นเชื้อการผลิต (กระบวนการนี้จะอาศัยต้นเชื้อเพลิงมาเผาไหม้หรือถ่ายพลังความร้อนให้วัตถุดิบให้เปลี่ยนสถานะและรูปร่างให้เป็นไปตามต้องการ)
1.3 น้ำเลี้ยง คือ น้ำหล่อเลี้ยงระบบ ได้แก่ ไอน้ำ น้ำหล่อเย็น ลมเย็นก็ได้ มีน้ำเป็นองค์ประกอบเช่นกัน ทำให้กระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.กระบวนการปลายทาง มีองค์ประกอบ ได้แก่
2.1 ผลผลิต คือ น้ำมันหรือก๊าซที่ได้จากการกลั่น หรือ ผลผลิตที่วัตถุดิบต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นสารตั้งต้นการผลิตที่ใช้ในกระบวนการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเคมี พลาสติก เครื่องหนัง ยาง อาหาร บรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ต้องการใช้
2.2 เชื้อเพลิงเหลือใช้ คือ เชื้อเพลิงที่เหลือจากกระบวนการเผาไหม้ในการผลิต
2.3 วัตถุดิบเหลือใช้ คือ ส่วนเหลือจากการผลิตไม่ต้องการใช้จากผลผลิต
2.4 น้ำเหลือใช้ คือ น้ำ หรือไอน้ำ หรือลม ที่ออกจากกระบวนการผลิตเมื่อทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว

3.กระบวนการเหลือใช้ มีองค์ประกอบ ได้แก่
3.1 นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) คือ การนำส่วนเหลือจากข้อ 2.2 และ 2.4 มาใช้ใหม่โดยอาจจะเป็นกระบวนการเดิมหรือกระบวนการอื่น โดยผ่านการปรับปรุงประสิทธิภาพใหม่
3.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพและการผลิตเหลือใช้ (Reperformance and Excessive Waste Production) คือ การนำส่วนเหลือจากข้อ 2.2 และ 2.3 นำมาปรับปรุงและผลิตส่วนเหลือใช้นี้ให้ได้ผลผลิตใหม่
โดยอาจจะเป็นส่วนที่จะใช้ได้ในกระบวนการอื่นๆ ต่อไปก็ได้แล้วแต่ความต้องการ
3.3 บำบัดของเสียและกลับคืนสภาพแวดล้อม (Waste Treatment and return environment) คือ การปรับปรุงส่วนของเหลือใช้ที่ไม่ต้องการจากข้อ 3.1 และ 3.2 แล้วนำมาบำบัดหรือกำจัดทิ้งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(อาจจะมีผลกระทบบ้างแต่เพียงส่วนน้อยนิดไม่อาจมองเห็นได้ ในความคิดนะแต่ความเป็นจริงเค้าทำอย่างนั้นหรือไม่แล้วแต่มาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายบังคับแต่ปฎิบัติจริงไม่ทราบครับ ไม่อาจบอกได้ดูข่าวก็รู้) แล้วส่งคืนสิ่งแวดล้อมไป เป็นน้ำ หรืออากาศ ก็รับกันไปนะ ถามคนที่แถวนิคมอุตสาหกรรมก็รู้ว่าเป็นอย่างไร สุขภาพแข็งแรงทุกคนจริงมั้ย ความเจริญดีจริงและแต่สิ่งแวดล้อมดีมั้ย? คิดเอาเองนะ

จากที่อธิบายข้างต้นเป็นหลักการเบื้องต้นของกระบวนการผลิต แต่ในรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมต่างๆ คงต้องเข้าไปเจาะลึกอีกทีว่าการผลิตที่ใช้มีอะไรบ้าง
สำหรับอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี จะมีในส่วนหลักแค่นี้ แต่ยังมีองค์ประกอบปลีกย่อยอีกมากมาย อธิบายค่อนข้างยาว หากสนใจ ก็เข้าไปดูในส่วนของเว็บ ปตท. PTT ถามพี่กูเกิ้ลได้ แล้วไปดูในส่วนของ ผลิตภัณฑ์ และกิจการในเครือได้
เว็บ ซีเมนต์ไทย SCG ก็เหมือนกันนะ ทั้งสองบริษัทต่างก็มีโรงไฟฟ้าผลิตในเครืออุตสาหกรรมซึ่งได้ใช้ไอน้ำจากโรงไฟฟ้านี้แหละมาใช้ในกระบวนการผลิตอีกด้วย
แหมเล่ามายังไม่กระจ่างชัดก็จบซะแล้ว ติดตามต่อไปละกันนะ ในภาคต่อ กับกลุ่มโรงปูนซีเมนต์และกระดาษ แถมท้ายด้วยกลุ่มโรงสีข้าวและน้ำตาล เพิ่มอีกด้วยโรงน้ำมันพืชถั่วเหลืองและปาล์ม

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 3)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 3)
กลับมาแล้วครับ ขอต้อนรับปีใหม่ 2556 ขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดปีนี้ ยึดหลัก 3 ร ไว้นะครับ (รอบรู้ รื่นรมย์ รวยล้น)

ต่อไปได้อธิบายค้างไว้เรื่องกังหันไอน้ำนั้น มีอุปกรณ์เกี่ยวพ่วงไว้กันสองตัวหลัก คือ FD Fan และ ID Fan มันคืออะไรทำหน้าที่อะไรมาดูกันครับ
1.FD Fan (Frocing Draft Fan) คือ พัดลมตัวหนึ่งทำหน้าที่ขับลมออกจากกังหันไอน้ำ
2.ID Fan ( Inducing Draft Fan) คือ พัดลมตัวหนึ่งทำหน้าที่ไล่ลมเข้ากังหันไอน้ำ
มีแค่นี้หรือ? อธิบายง่ายไปมั้ย?
ไม่หรอกครับจะขยายความให้ฟังอีกครับ ว่าแล้วก็เคยเกริ่นไว้ว่า มีอีกส่วนที่ควบคุมการทำงานของกังหันไอน้ำเป็นอุปกรณ์ลมขับเริ่มแรกในการทำงานของกังหันหลังจากใช้ไดนาโมทดรอบสตาร์ทให้มันทำงานแล้ว
เจ้าสองตัวนี้แหละจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนกังหันต่อไป และคอยปรับรอบการหมุนของกังหันในช่วงการทำงานอีกด้วย เพราะการควบคุมกระแสลมตามความเร็วรอบกับกระแสไอน้ำที่สถานะต่างกันไม่สามารถกระทำได้
ทันทีตามที่ต้องการจำต้องมีอุปกรณ์หน่วงกระแสให้ทำงานตามประสิทธิภาพได้ตามต้องการอีกด้วย หากท่านที่เคยขึ้นเครื่องบินสังเกตุเครื่องโบอิ้งทำงานในช่วงระหว่างบินยังไงก็อย่างงั้นแต่ถ้านึกไม่ออกลองดูพัดลมที่บ้านสิ
เมื่อมันพัดที่ความเร็วรอบต่างกันลมที่ไหลเข้าและออกต่างกันหรือไม่? ยิ่งดูดแรงลมพัดออกก็ยิ่งแรงว่ามั้ย แต่พัดลมที่แอร์หรือเครื่องปรับอากาศ มีใบพัดปรับทิศทางใช่หรือไม่ FD Fan และ ID Fan ก็มีนะ
ปรับทิศทางกระแสลมให้เข้าน้อยออกมากแล้วแต่จะควบคุมกระแสลมให้ทำงานอย่างไร โดยหลักคือถ้าลมเข้าน้อยแรงขับจะน้อย แต่ถ้าลมเข้ามากแรงขับจะมากน้อยขึ้นอยู่กับทางออกครับว่าจะให้ผ่านสะดวกหรือไม่
เห็นมั้ยมีลูกเล่นอีกแล้วครับ หลักการนี้คงต้องไปศึกษาเอาเองนะ ว่ามีวิธีปรับใช้กันอย่างไร แต่เพียงนำเสนอหลักการให้ท่านไปเรียนรู้เพิ่มเติมเท่านั้น หากสนใจ อาจจะเปิดหลักสูตรให้ท่านที่สนใจเข้ามาศึกษาดูต่อไปก็ได้ครับ
ขอให้ลงความคิดเห็นเสนอแนะกันมาเถอะครับ

ทิ้งท้ายในส่วนหม้อต้มไอน้ำนี้ ทาง วสท. ได้เปิดสอนหลักสูตร การควบคุมระบบหม้อไอน้ำเป็นประจำทุกปี หากผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและท่านที่สนใจอยากเรียนรู้เชิญได้ที่ วสท. ครับ (http:\\www.eit.or.th)
แล้วพบกันใหม่ในภาคต่อ  การวิเคราะห์โครงงานในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ในครั้งต่อไปครับ
(แหม...รู้สึกจะเกียจคร้านไปหน่อยมั้ย อธิบายนิดเดียว เดี๋ยวก็ไปอีกแล้วสิ)

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม