วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 4)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 4)
กลับมาพบกันอีกครั้งในภาคต่อ  การวิเคราะห์โครงงานในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี จากประสบการณ์การทำงานในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมระยอง
เราได้รู้จักบริษัทที่ทำงานในกลุ่มนี้ได้แก่ ปตท. PTT และเครือ ได้แก่ PTTAR และPTTCH ปัจจุบันรวมกิจการเป็น PTTGC นอกจากนั้นก็จะมี IRPC เดิมเป็นของ TPI ถูกยึดอำนาจจาก ปตท.ที่ถือหุ้นใหญ่
และมีบริษัท เครือซีเมนต์ไทย ปูนใหญ่ SCG มีเครือกลุ่ม ได้แก่ SCC,SCCC นอกจากนั้นยังมีอีกหลายบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม เช่น VNT วินีไทย IVL อินโดรามา TOP ไทยออยล์ TPIPL ทีพีไอโพลีน เป็นต้น
รายชื่อบริษัทในกลุ่มนี้มีมากมาย แตกเป็นบริษัทเล็กบริษัทน้อยมากมาย แต่บริษัทหลักที่จะว่าเป็นมหาอำนาจในเครือนิคมระยองจะมีก็แต่ 2 บริษัทนี้เท่านั้น คือ ปตท. และ ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งดูแลกิจการบริษัทในเครือตั้งแต่
โรงไฟฟ้า โรงกลั่น ปิโตรเคมี และท่าเรือน้ำมันขนส่งเชื้อเพลิงต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การผลิตสารตั้งต้นวัสดุกลุ่มพลาสติกอีกด้วย

ระหว่างที่ผมกำลังพิมพ์บทความนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนโครงการใหม่จากที่ทำในนิคมอุตสาหกรรมระยองจากโรงกลั่นและปิโตรเคมี ได้เปลี่ยนรูปแบบงานจากทำโรงไฟฟ้าจากระบบท่อในหม้อต้มไอน้ำและกระบวนการ
ไปเป็นองค์ประกอบระบบท่อน้ำเลี้ยงหม้อต้มไอน้ำ คือ Water Treatment Piping ซึ่งจะจ่ายจากอาคารน้ำบำบัด มีท่อหลักได้แก่ Raw water,Service water,Demins water, Waste Water,Cooling Water เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ
ที่จะทำให้ระบบหม้อต้มไอน้ำทำงานได้ดี หากขาดน้ำเลี้ยงเหล่านี้ก็จะทำงานไม่ได้เลย ถือว่าผมมีโอกาสที่ดีได้สัมผัสงานในหลายๆส่วนมีประสบการณ์ที่สำคัญมาถ่ายทอดเล่าสู่กันอ่านต่อไปนะครับ

กลับมาเรื่องกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีกันดีกว่า จะว่าไปแล้วระบบกลุ่มนี้ก็มีโรงหม้อต้มไอน้ำอยู่ส่วนหนึ่งแต่จะต่างจากโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นหลักแต่ต้องการไอน้ำไปเลี้ยงระบบกระบวนการ(Process) การกลั่นและการผลิตปิโตรเคมี ไม่เว้นอุตสาหกรรมอื่นๆ พลาสติก เหล็ก ผ้า เครื่องหนัง ยาง อาหาร จำเป็นต้องใช้ไอน้ำเข้ามาใช้ในกระบวนการทั้งนั้น สำหรับหม้อต้มไอน้ำในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะวิเคราะห์ได้ดังนี้
1.กระบวนการต้นทาง มีองค์ประกอบ ได้แก่
1.1 ต้นเชื้อเพลิง คือ เชื้อเพลิงในการเผาไหม้การผลิตเพื่อการผลิตปิโตรเคมี กลั่นน้ำมัน (น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันเหลือใช้ต่างๆ)
1.2 วัตถุดิบ คือ ต้นทุนการผลิต ที่นำมาใช้ ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ วัตถุต้นเชื้อการผลิต (กระบวนการนี้จะอาศัยต้นเชื้อเพลิงมาเผาไหม้หรือถ่ายพลังความร้อนให้วัตถุดิบให้เปลี่ยนสถานะและรูปร่างให้เป็นไปตามต้องการ)
1.3 น้ำเลี้ยง คือ น้ำหล่อเลี้ยงระบบ ได้แก่ ไอน้ำ น้ำหล่อเย็น ลมเย็นก็ได้ มีน้ำเป็นองค์ประกอบเช่นกัน ทำให้กระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.กระบวนการปลายทาง มีองค์ประกอบ ได้แก่
2.1 ผลผลิต คือ น้ำมันหรือก๊าซที่ได้จากการกลั่น หรือ ผลผลิตที่วัตถุดิบต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นสารตั้งต้นการผลิตที่ใช้ในกระบวนการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเคมี พลาสติก เครื่องหนัง ยาง อาหาร บรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ต้องการใช้
2.2 เชื้อเพลิงเหลือใช้ คือ เชื้อเพลิงที่เหลือจากกระบวนการเผาไหม้ในการผลิต
2.3 วัตถุดิบเหลือใช้ คือ ส่วนเหลือจากการผลิตไม่ต้องการใช้จากผลผลิต
2.4 น้ำเหลือใช้ คือ น้ำ หรือไอน้ำ หรือลม ที่ออกจากกระบวนการผลิตเมื่อทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว

3.กระบวนการเหลือใช้ มีองค์ประกอบ ได้แก่
3.1 นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) คือ การนำส่วนเหลือจากข้อ 2.2 และ 2.4 มาใช้ใหม่โดยอาจจะเป็นกระบวนการเดิมหรือกระบวนการอื่น โดยผ่านการปรับปรุงประสิทธิภาพใหม่
3.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพและการผลิตเหลือใช้ (Reperformance and Excessive Waste Production) คือ การนำส่วนเหลือจากข้อ 2.2 และ 2.3 นำมาปรับปรุงและผลิตส่วนเหลือใช้นี้ให้ได้ผลผลิตใหม่
โดยอาจจะเป็นส่วนที่จะใช้ได้ในกระบวนการอื่นๆ ต่อไปก็ได้แล้วแต่ความต้องการ
3.3 บำบัดของเสียและกลับคืนสภาพแวดล้อม (Waste Treatment and return environment) คือ การปรับปรุงส่วนของเหลือใช้ที่ไม่ต้องการจากข้อ 3.1 และ 3.2 แล้วนำมาบำบัดหรือกำจัดทิ้งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(อาจจะมีผลกระทบบ้างแต่เพียงส่วนน้อยนิดไม่อาจมองเห็นได้ ในความคิดนะแต่ความเป็นจริงเค้าทำอย่างนั้นหรือไม่แล้วแต่มาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายบังคับแต่ปฎิบัติจริงไม่ทราบครับ ไม่อาจบอกได้ดูข่าวก็รู้) แล้วส่งคืนสิ่งแวดล้อมไป เป็นน้ำ หรืออากาศ ก็รับกันไปนะ ถามคนที่แถวนิคมอุตสาหกรรมก็รู้ว่าเป็นอย่างไร สุขภาพแข็งแรงทุกคนจริงมั้ย ความเจริญดีจริงและแต่สิ่งแวดล้อมดีมั้ย? คิดเอาเองนะ

จากที่อธิบายข้างต้นเป็นหลักการเบื้องต้นของกระบวนการผลิต แต่ในรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมต่างๆ คงต้องเข้าไปเจาะลึกอีกทีว่าการผลิตที่ใช้มีอะไรบ้าง
สำหรับอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี จะมีในส่วนหลักแค่นี้ แต่ยังมีองค์ประกอบปลีกย่อยอีกมากมาย อธิบายค่อนข้างยาว หากสนใจ ก็เข้าไปดูในส่วนของเว็บ ปตท. PTT ถามพี่กูเกิ้ลได้ แล้วไปดูในส่วนของ ผลิตภัณฑ์ และกิจการในเครือได้
เว็บ ซีเมนต์ไทย SCG ก็เหมือนกันนะ ทั้งสองบริษัทต่างก็มีโรงไฟฟ้าผลิตในเครืออุตสาหกรรมซึ่งได้ใช้ไอน้ำจากโรงไฟฟ้านี้แหละมาใช้ในกระบวนการผลิตอีกด้วย
แหมเล่ามายังไม่กระจ่างชัดก็จบซะแล้ว ติดตามต่อไปละกันนะ ในภาคต่อ กับกลุ่มโรงปูนซีเมนต์และกระดาษ แถมท้ายด้วยกลุ่มโรงสีข้าวและน้ำตาล เพิ่มอีกด้วยโรงน้ำมันพืชถั่วเหลืองและปาล์ม

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 3)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 3)
กลับมาแล้วครับ ขอต้อนรับปีใหม่ 2556 ขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดปีนี้ ยึดหลัก 3 ร ไว้นะครับ (รอบรู้ รื่นรมย์ รวยล้น)

ต่อไปได้อธิบายค้างไว้เรื่องกังหันไอน้ำนั้น มีอุปกรณ์เกี่ยวพ่วงไว้กันสองตัวหลัก คือ FD Fan และ ID Fan มันคืออะไรทำหน้าที่อะไรมาดูกันครับ
1.FD Fan (Frocing Draft Fan) คือ พัดลมตัวหนึ่งทำหน้าที่ขับลมออกจากกังหันไอน้ำ
2.ID Fan ( Inducing Draft Fan) คือ พัดลมตัวหนึ่งทำหน้าที่ไล่ลมเข้ากังหันไอน้ำ
มีแค่นี้หรือ? อธิบายง่ายไปมั้ย?
ไม่หรอกครับจะขยายความให้ฟังอีกครับ ว่าแล้วก็เคยเกริ่นไว้ว่า มีอีกส่วนที่ควบคุมการทำงานของกังหันไอน้ำเป็นอุปกรณ์ลมขับเริ่มแรกในการทำงานของกังหันหลังจากใช้ไดนาโมทดรอบสตาร์ทให้มันทำงานแล้ว
เจ้าสองตัวนี้แหละจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนกังหันต่อไป และคอยปรับรอบการหมุนของกังหันในช่วงการทำงานอีกด้วย เพราะการควบคุมกระแสลมตามความเร็วรอบกับกระแสไอน้ำที่สถานะต่างกันไม่สามารถกระทำได้
ทันทีตามที่ต้องการจำต้องมีอุปกรณ์หน่วงกระแสให้ทำงานตามประสิทธิภาพได้ตามต้องการอีกด้วย หากท่านที่เคยขึ้นเครื่องบินสังเกตุเครื่องโบอิ้งทำงานในช่วงระหว่างบินยังไงก็อย่างงั้นแต่ถ้านึกไม่ออกลองดูพัดลมที่บ้านสิ
เมื่อมันพัดที่ความเร็วรอบต่างกันลมที่ไหลเข้าและออกต่างกันหรือไม่? ยิ่งดูดแรงลมพัดออกก็ยิ่งแรงว่ามั้ย แต่พัดลมที่แอร์หรือเครื่องปรับอากาศ มีใบพัดปรับทิศทางใช่หรือไม่ FD Fan และ ID Fan ก็มีนะ
ปรับทิศทางกระแสลมให้เข้าน้อยออกมากแล้วแต่จะควบคุมกระแสลมให้ทำงานอย่างไร โดยหลักคือถ้าลมเข้าน้อยแรงขับจะน้อย แต่ถ้าลมเข้ามากแรงขับจะมากน้อยขึ้นอยู่กับทางออกครับว่าจะให้ผ่านสะดวกหรือไม่
เห็นมั้ยมีลูกเล่นอีกแล้วครับ หลักการนี้คงต้องไปศึกษาเอาเองนะ ว่ามีวิธีปรับใช้กันอย่างไร แต่เพียงนำเสนอหลักการให้ท่านไปเรียนรู้เพิ่มเติมเท่านั้น หากสนใจ อาจจะเปิดหลักสูตรให้ท่านที่สนใจเข้ามาศึกษาดูต่อไปก็ได้ครับ
ขอให้ลงความคิดเห็นเสนอแนะกันมาเถอะครับ

ทิ้งท้ายในส่วนหม้อต้มไอน้ำนี้ ทาง วสท. ได้เปิดสอนหลักสูตร การควบคุมระบบหม้อไอน้ำเป็นประจำทุกปี หากผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและท่านที่สนใจอยากเรียนรู้เชิญได้ที่ วสท. ครับ (http:\\www.eit.or.th)
แล้วพบกันใหม่ในภาคต่อ  การวิเคราะห์โครงงานในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ในครั้งต่อไปครับ
(แหม...รู้สึกจะเกียจคร้านไปหน่อยมั้ย อธิบายนิดเดียว เดี๋ยวก็ไปอีกแล้วสิ)

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม