วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

5. บทห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน

บทที่ห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน
เมื่อเรียนโครงงานปฏิบัติภาคสนามจริง

กลับมากันแล้วครับ ต่อไปนี้จะเป็นบทเรียนแนวทางการทดสอบและติดตามผลการเรียนกัน
ทุกท่านได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้วประสบพบเจออะไรบ้างช่วยแบ่งปันกันบ้างนะ
หากเราได้ติดตามข่าวที่เป็นผลกระทบของอุตสาหกรรมน้ำมันของบริษัทลูก ปตท.(pttgc)
ก็เป็นที่ทราบดีว่าการรั่วไหลท่อส่งน้ำมันดิบบริเวณใกล้เกาะเสม็ดทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณอ่าวพร้าว
ได้รับความเสียหายอย่างมาก สาเหตุท่อส่งมีปัญหาหรือกระบวนมีปัญหา จะเห็นได้ว่าระบบมาตรฐาน
ด้านความปลอดภัยนี้ต่ำมาก ไม่มีการป้องกัน ไม่มีการศึกษาปัญหาระบบแก้ไขเรื่องเหล่านี้มาก่อน
ทำให้การรั่วไหลกระจายออกไปเป็นวงกว้างและใช้ระยะเวลานาน จะบอกว่าสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยก็ได้ แต่การเรียนรู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดเป็นสิ่งสำคัญ มาตรฐานการซ่อมบำรุงรักษาและปฏิบัติการภาคสนามน้อยเกินไป เชื่อว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอนัก เป็นบทเรียนที่ ปตท. ต้องนำไปปรับปรุงในหน่วยองค์กรอย่างมาก หากบริษัทลูกอย่าง pttme มีส่วนในการรับผิดชอบและวางแผนซ่อมบำรุงและศึกษาป้องกันไปด้วยจะดีไม่น้อย เพราะการใช้หน่วยงานภายในองค์กรสร้างระบบการจัดการที่ครบวงจรจะดีที่สุดแต่เชื่อว่ายังมีปัญหาภายในองค์กรอยู่มากและยากที่แก้ไขได้

สำหรับบทความนี้ ผมมีบททดสอบการเรียนให้ทุกท่านอยู่ 5 ข้อดังนี้

1. แนะนำโครงงานเสนออาจารย์ใหญ่ ผ่านรายงานติดตามผลประจำวัน ประจำสัปดาห์
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
3. แนวทางการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
4. เทคนิคการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์ปัญหาตามระบบ
5. สรุปผลโครงงานโดยอาศัยปัจจัยข้อมูลเชิงวิชาการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน

จากบททดสอบทั้ง 5 ข้อ ผมจะยกตัวอย่างโครงงานและอธิบายตามหัวข้อดังนี้ครับ
โครงงาน ซ่อมบำรุงระบบคัดแยกกากปาล์มในโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

1. แนะนำโครงงาน ดังต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน ซ่อมบำรุงระบบคัดแยกกากปาล์มในโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

อธิบายระบบการทำงาน มี 3 ส่วนดังนี้
1. ขนส่งลำเลียง นำเมล็ดปาล์มขนส่งผ่านสายพานลำเลียงเข้าหม้อต้ม
2. หม้อต้มเค้นน้ำมัน ต้มน้ำร้อนให้น้ำมันระเหยออกจากเมล็ด และขนส่งลำเลียงต่อไป 
3. บดและบีบคัดแยกกาก เมล็ดที่ต้มร้อนจนน้ำมันออกแล้ว จะผ่านเครื่องบดและบีบเค้นแยกน้ำมันกับ
กากปาล์มออกมาสู่ระบบลำเลียงไปทิ้งต่อไป(กากนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงได้อีก)

แนวทางการซ่อมบำรุง มี 3 ส่วนเช่นกันดังนี้
1. ขนส่งลำเลียง ระบบสายพานลำเลียง แก้ไขล้อหมุน(Roller)ชำรุด วัดรอบมอเตอร์ขับสายพานและตั้งศูนย์สายพานใหม่ เช็คน้ำมันหล่อลื่น เช็คโครงสร้างรางสายพานที่ชำรุดสึกหรอ แก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
2. หม้อต้มเค้นน้ำมัน อุปกรณ์ต้มเดือดชำรุด อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและแรงดันชำรุด ตั้งค่าทดสอบมาตรฐานความเที่ยงตรงอุปกรณ์ โครงหม้อต้มชำรุดสึกหรอ แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
3. บดและบีบคัดแยกกาก อะไหล่สึกหรอหรือชำรุด แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

ประสิทธิภาพหลังการซ่อมบำรุง เมื่อแรกเริ่มก่อนโครงงาน เราควรได้สำรวจและวิเคราะห์โครงงานก่อน โดยประเมินผลการซ่อมบำรุงว่าจะทำได้ เป็นเปอร์เซ็นต์จาก 100 มีประสิทธิผลจริง 70-80 แล้วแต่ว่าสภาพเนื้องานนั้นทำได้มากน้อยเพียงใด ส่วนอีก 20-30 เป็นการสรุปติดตามผลหลังการทดสอบ
สำหรับโครงงานนี้ ได้ประเมินสภาพไว้ที่ 70 ก่อนการซ่อมบำรุง

ระยะเวลาดำเนินการซ่อมบำรุง เมื่อได้วางแผนแนวทางการซ่อมบำรุงไว้ระยะเวลาที่เหมาะสม
โดยแต่ละส่วนงานมีความเกี่ยวกับระบบการผลิตทั้งหมด 3 ส่วนจะแบ่งพาร์ทได้ดังนี้
1. ซ่อมบำรุงรายวัน เป็นการตรวจเช็คระบบเบื้องต้นก่อนซ่อมบำรุงหรือแก้ไขระบบที่ไม่กระทบการผลิต
2. ซ่อมบำรุงรายสัปดาห์ เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนอะไหล่ที่ใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 2-3 วัน หรือหยุดระบบเป็นบางช่วงเท่านั้น
3. ซ่อมบำรุงรายเดือน เป็นการซ่อมบำรุงใหญ่ที่ต้องหยุดระบบชั่วคราวเป็นบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมดอย่างเช่น ซ่อมบำรุงสายพานลำเลียงหรือเปลี่ยนล้อหมุนที่เสียหายชำรุดใหม่ ต้องหยุดระบบในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานของระบบลำเลียง ส่วนใหญ่ที่ไม่มีการขนส่งเมล็ดปาล์ม

แนวทางการทดสอบระบบและผลการทดสอบหลังการซ่อมบำรุง
ตามมาตรฐานการทดสอบ อย่างเช่น
ระบบสายพาน ทดสอบรันระบบลำเลียงวัดรอบ และศูนย์ถ่วงสายพาน
อุปกรณ์ต้มเดือด วัดอุณหภูมิและแรงดัน ตามค่ามาตรฐาน
เครื่องบดและบีบคัดแยกทำงานปกติหรือไม่

เอกสารข้อมูลทางเทคนิคประกอบ อุปกรณ์มาตรฐานต้องใบรับรองการทดสอบและบทวิชาการเปรียบเทียบมาตรฐานรับรองที่ยอมรับได้

บทที่ห้า ขอพักไว้เท่านี้ก่อนครับและติดต่อในหัวข้อ
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าสนใจในการทำโครงงานนี้บ้างนะ ต้องติดตามกัน
BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น