วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

7. บทเจ็ด สรุปโครงงานและทำรายงาน

บทที่เจ็ด สรุปโครงงานและทำรายงาน

กลับมาแล้วครับ ห่างหายไปนานตอนนี้เดินสายดูงานหลายโครงการ โรงไฟฟ้ากำลังผุดขึ้นหลายที่
รองรับการใช้ไฟฟ้าในอนาคตและสำรองพลังงานที่ไม่แน่นอนอาจจะหมดได้ถ้าไม่วางแผนกำลังผลิตให้ดีพอและมีการตรวจซ่อมบำรุงอยู่สม่ำเสมอจึงเป็๋นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานของ กฟผ. ต้องปฏิบัติเพื่ออนาคตของประเทศ ในฐานะผู้รับเหมางานต้องมีกำลังคนพร้อมที่จะรับงานได้ทุกที่และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ได้รับการไว้วางใจที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้

สำหรับบทนี้ จะเป็นการสรุปงานที่ได้ทำมาว่าได้ตามแผนงานหรือไม่ และมีปัญหาใดที่ได้รับการแก้ไขบ้าง ปัญหาใดที่ยังค้างคาต้องตรวจสอบเพื่อซ่อมบำรุงต่อไปบ้าง องค์ประกอบการสรุปโครงงานมีดังนี้

1. บทนำ วัตถุประสงค์โครงงาน
2. แผนงานเปรียบเทียบ ระยะเวลาปฏิบัติงาน
3. รายละเอียดโครงงาน และผลงานที่ได้ทำไป
4. ผลสรุปโครงงาน และข้อเสนอแนะ (แนวทางการทำโครงงานในครั้งต่อไป)

ดูแล้วคล้ายกับรายงานเสนออาจารย์ประจำวิชาเลยนะ ก็แน่หล่ะนี่คือบททดสอบก่อนทำงานจริงนะ
ถ้าคุณส่งรายงานโครงงานผ่านก็เท่ากับคุณสามารถทำงานสำเร็จลุล่วงและเป็นที่ยอมรับได้

ขั้นตอนแรกในบทนำคือ การนำเสนอโครงงานที่จะทำให้อาจารย์ประจำวิชาโครงงานยอมรับตามแผนงานที่ได้ทำไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ทำให้เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นรายงานตามข้อเท็จจริงจากการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย ชี้นำการดำเนินงานที่ได้รับผลดีมากกว่าผลเสียให้มากที่สุด และแนวโน้มที่จะทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงมากที่สุด โดยไม่ติดขัดอุปสรรคใดๆทำให้มองเป็นเรื่องเล็กไปเลยว่าสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้โดยไม่มองว่าเป็นอุปสรรคนั่นคือการนำเสนอโครงงานที่ชี้นำข้อดีมากกว่าข้อเสียนั่นเอง

ขั้นตอนที่สองในแผนงานคือ การเปรียบเทียบแผนงานที่กำหนดไว้กับการปฏิบัติงานโดยมีระยะเวลาที่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนหรือดีกว่าแผนงาน หากมีความล่าช้าที่เกิดจากอุปสรรคที่ไม่สามารถจัดการได้ก็ต้องชี้แจงเปรียบเทียบและแนะแนวทางการวางแผนใหม่ในครั้งต่อไปในบทสรุปท้ายโครงงาน

ขั้นตอนที่สามในรายละเอียดโครงงานคือ การนำเสนอขั้นตอนการทำงาน และผลงานพร้อมแสดงประสิทธิผลของการปฏิบัติงานเพื่อเห็นภาพประกอบโครงงานที่ทำได้จริงและเป็นแนวทางการปฏิบัติงานในครั้งต่อไปได้ เหมือนคู่มือการทำโครงงาน โดยแจกแจงได้ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน และแผนปฏิบัติงาน
2. อุปกรณ์และเครื่องมือปฏิบัติงาน
3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4. ผลการปฏิบัติงาน และภาพประกอบประสิทธิผลของโครงงาน

ขั้นตอนที่สี่ในบทสรุปท้ายโครงงานคือ การเสนอผลงานโดยย่อ และข้อดี ข้อเสียของโครงงาน อย่าลืมว่าต้องรายงานข้อดีมากกว่าข้อเสีย หากไม่มีก็ดีเลย และข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป ต้องชี้ให้เห็นว่าหากมีการทำโครงงานต่อไปควรจะต้องทำอะไรบ้าง และอะไรที่เป็นอุปสรรคที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนปฏิบัติงานในครั้งต่อไปบ้าง เพื่อทำให้โครงงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การติดตามตรวจสอบก่อนเริ่มโครงงานนั้นควรต้องเตรียมทำอย่างไรบ้าง นั่นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเสมอเมื่อจะทำโครงงาน

ทั้งหมดนี้คือข้อปฏิบัติโครงงานที่เราควรจะทำกันครับ หวังทุกคนที่อ่านแล้วน่านำไปใช้ได้บ้าง
การทำรายงานเรามีพื้นฐานจากการทำงานส่งอาจารย์ประจำวิชาแล้วในชีวิตจริงก็ควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานนะครับ

แล้วติดตามกันในบทต่อไปนะครับ ใกล้จะจบแล้วช่วงพักร้อนก็เข้ามาศึกษากันให้มากละกัน...see you again