วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

8. บทแปด ส่งมอบรายงานและจัดเก็บเงินค่าเทอม

บทที่ 8. การส่งมอบรายงานและจัดเก็บเงินค่างวดโครงงาน(INVOICING & PAYMENT)

           ช่วงที่ผ่านมาเดินสายทำงานไปต่างจังหวัดต่างประเทศ หลายแห่งในประเทศเกิดโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางโดยเฉพาะภาคกลางและตะวันตกเชื่อมโยงท่อก๊าซธรรมชาติจากฝั่งพม่ากำลังเปิดลงทุนนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ น่าสนใจอาจจะคุ้นชื่อเมือง "ทวาย" จะแหล่งเส้นทางขนส่งจากยุโรปและเอเชียตะวันออกสู่อาเชียน(AEC) ในปีหน้าเราจะภูมิภาคเสรีการค้าและการลงทุนเต็มตัว ขอให้เตรียมพร้อมรับการแข่งขันให้มากขึ้น อาชีพที่อาศัยความรู้ชำนาญเฉพาะด้านที่จะต้องปรับตัวมากขึ้น โดยเฉพาะผู้รับเหมาช่างเทคนิคและวิศวกรช่างสาขาทั่วไป หากเจอบริษัทร่วมทุนต่างชาติจะนำบุคคลากรต่างอาชีพเฉพาะด้านเหล่านี้เข้ามาด้วย หากไม่ปรับตัวและเพิ่มทักษะเฉพาะด้านให้เก่งแล้วจะทำงานลำบากโดยเฉพาะการสื่อสารด้านภาษาจะทำให้การทำงานได้ง่ายขึ้น ต้องพยายามสู้ต่อไปนะพวกเราเพื่อความสำเร็จในวันข้างหน้า

            กลับมาเริ่มเรียนรู้กันต่อนะ ใกล้จะถึงสรุปบทสุดท้าย ตอนนี้เราจะให้แนวทางการสรุปส่งรายงานเพื่อส่งมอบงานให้จบโครงงานและการจัดการเรื่องการจัดเก็บเงินค่าเทอมตามงบประมาณโครงงานที่ตั้งเบิกไว้แต่เริ่มปฏิบัติงานในโครงงาน มาสู่ขั้นตอนดำเนินงานกัน

การส่งมอบรายงาน
องค์ประกอบรายงานต้องสมบูรณ์ ตามหัวข้อดังนี้
1. บทนำหรือคำนำ และวัตถุประสงค์- ส่วนนี้ต้องรายละเอียดงานที่น่าสนใจและสอดคล้องกับงานที่ทำ
2. สารบัญ และขอบเขตการดำเนินงาน- ส่วนนี้ต้องวางกรอบขั้นตอนการดำเนินงานที่ปฏิบัติมาได้ชัดเจน
3. แผนงานเปรียบเทียบ และผลการดำเนินงาน- เป็นการแสดงผลชี้วัดการปฏิบัติงาน ว่าสำเร็จลุล่วงไปได้มากน้อยแค่ไหนตามกรอบที่วางไว้
4. ข้อสรุปและคำชี้แนะการดำเนินงาน- แสดงผลสรุปการปฏิบัติงานว่าบรรลุวัตถุประสงค์ไว้หรือไม่และมีข้อปรับปรุงอันใดเพิ่มเติ่มที่ต้องดำเนินงานในครั้งต่อไปหากมีแผนที่จะทำในอนาคตหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่เทียบเคียงกันได้ต่อไป
5. รูปภาพและเอกสารอ้างอิงประกอบ- ส่วนนี้จะแสดงหรือไม่ก็ได้เพียงแต่ต้องการความสมบูรณ์ของรายงานและข้อมูลเชิงวิชาการแสดงประกอบผลงานให้มีความน่าเชื่อถือและวัดผลได้ตามข้อมูลประกอบ

เบื้องต้นเป็นรายงานส่งมอบ ต่อไปจะเป็นข้อมูลประกอบผลงานเพื่อเรียกเก็บเงินชำระค่าเทอมดังนี้

เอกสารประกอบการวางบิล(invoicing)
1. ใบส่งมอบงาน- ผลสรุปการดำเนินงานจะมีหัวข้องานในโครงงาน ปริมาณงานและยอดเงินที่ทำได้
2. ใบสรุปผลการดำเนินงาน- แสดงรายละเอียดงานตามหัวข้องานในโครงงาน ปริมาณงานและยอดเงินที่ทำได้ หากดำเนินงานเป็นงวด(ราย 15วัน,เดือน,ไตรมาส) จะต้องแสดงปริมาณงานและยอดเงิน3ช่องเรียงลำดับดังนี้ 1.งวดที่ผ่านล่าสุด( Last Claim ) 2.งวดนี้( This Claim ) 3.งวดสะสม( Accum. Claim )
3. ใบอนุมัติสั่งซื้อตามคำขอโครงงาน- เป็นเอกสารประกอบราคาเปรียบเทียบใบส่งมอบงานโครงงาน
4. ใบวางบิลเก็บเงิน- แสดงบิลรายการเรียกรายละเอียดตามใบส่งมอบงานโครงงาน
5. ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี ,สำเนาบัญชีธนาคารเพื่อรับเงิน- เอกสารแสดงประกอบรับเงินในส่วนนี้จะส่งเอกสารตอนรับเงินตามกำหนดงวดจริง หากรับเป็นเช็คแต่หากรับเงินเข้าบัญชีต้องส่งมอบพร้อมใบวางบิลในงวดนั้นๆ

ทั้งหมดก็เป็นแนวทางปฏิบัติการส่งมอบงานและการวางบิลเรียกเก็บค่างวดโครงงาน หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในขั้นตอนการปฏิบัติจริงจะได้เรียนรู้มากกว่านี้อีกมากอย่าท้อก่อนนะสู้ๆ
สำหรับบทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ แล้วพบกันในบทสุดท้ายที่จะปิดภาคการศึกษาและประสบการณ์ชีวิตจะสอนท่านต่อไป จงอย่าหยุดที่จะเรียนรู้นะครับ

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

7. บทเจ็ด สรุปโครงงานและทำรายงาน

บทที่เจ็ด สรุปโครงงานและทำรายงาน

กลับมาแล้วครับ ห่างหายไปนานตอนนี้เดินสายดูงานหลายโครงการ โรงไฟฟ้ากำลังผุดขึ้นหลายที่
รองรับการใช้ไฟฟ้าในอนาคตและสำรองพลังงานที่ไม่แน่นอนอาจจะหมดได้ถ้าไม่วางแผนกำลังผลิตให้ดีพอและมีการตรวจซ่อมบำรุงอยู่สม่ำเสมอจึงเป็๋นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานของ กฟผ. ต้องปฏิบัติเพื่ออนาคตของประเทศ ในฐานะผู้รับเหมางานต้องมีกำลังคนพร้อมที่จะรับงานได้ทุกที่และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ได้รับการไว้วางใจที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้

สำหรับบทนี้ จะเป็นการสรุปงานที่ได้ทำมาว่าได้ตามแผนงานหรือไม่ และมีปัญหาใดที่ได้รับการแก้ไขบ้าง ปัญหาใดที่ยังค้างคาต้องตรวจสอบเพื่อซ่อมบำรุงต่อไปบ้าง องค์ประกอบการสรุปโครงงานมีดังนี้

1. บทนำ วัตถุประสงค์โครงงาน
2. แผนงานเปรียบเทียบ ระยะเวลาปฏิบัติงาน
3. รายละเอียดโครงงาน และผลงานที่ได้ทำไป
4. ผลสรุปโครงงาน และข้อเสนอแนะ (แนวทางการทำโครงงานในครั้งต่อไป)

ดูแล้วคล้ายกับรายงานเสนออาจารย์ประจำวิชาเลยนะ ก็แน่หล่ะนี่คือบททดสอบก่อนทำงานจริงนะ
ถ้าคุณส่งรายงานโครงงานผ่านก็เท่ากับคุณสามารถทำงานสำเร็จลุล่วงและเป็นที่ยอมรับได้

ขั้นตอนแรกในบทนำคือ การนำเสนอโครงงานที่จะทำให้อาจารย์ประจำวิชาโครงงานยอมรับตามแผนงานที่ได้ทำไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ทำให้เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นรายงานตามข้อเท็จจริงจากการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย ชี้นำการดำเนินงานที่ได้รับผลดีมากกว่าผลเสียให้มากที่สุด และแนวโน้มที่จะทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงมากที่สุด โดยไม่ติดขัดอุปสรรคใดๆทำให้มองเป็นเรื่องเล็กไปเลยว่าสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้โดยไม่มองว่าเป็นอุปสรรคนั่นคือการนำเสนอโครงงานที่ชี้นำข้อดีมากกว่าข้อเสียนั่นเอง

ขั้นตอนที่สองในแผนงานคือ การเปรียบเทียบแผนงานที่กำหนดไว้กับการปฏิบัติงานโดยมีระยะเวลาที่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนหรือดีกว่าแผนงาน หากมีความล่าช้าที่เกิดจากอุปสรรคที่ไม่สามารถจัดการได้ก็ต้องชี้แจงเปรียบเทียบและแนะแนวทางการวางแผนใหม่ในครั้งต่อไปในบทสรุปท้ายโครงงาน

ขั้นตอนที่สามในรายละเอียดโครงงานคือ การนำเสนอขั้นตอนการทำงาน และผลงานพร้อมแสดงประสิทธิผลของการปฏิบัติงานเพื่อเห็นภาพประกอบโครงงานที่ทำได้จริงและเป็นแนวทางการปฏิบัติงานในครั้งต่อไปได้ เหมือนคู่มือการทำโครงงาน โดยแจกแจงได้ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน และแผนปฏิบัติงาน
2. อุปกรณ์และเครื่องมือปฏิบัติงาน
3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4. ผลการปฏิบัติงาน และภาพประกอบประสิทธิผลของโครงงาน

ขั้นตอนที่สี่ในบทสรุปท้ายโครงงานคือ การเสนอผลงานโดยย่อ และข้อดี ข้อเสียของโครงงาน อย่าลืมว่าต้องรายงานข้อดีมากกว่าข้อเสีย หากไม่มีก็ดีเลย และข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป ต้องชี้ให้เห็นว่าหากมีการทำโครงงานต่อไปควรจะต้องทำอะไรบ้าง และอะไรที่เป็นอุปสรรคที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนปฏิบัติงานในครั้งต่อไปบ้าง เพื่อทำให้โครงงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การติดตามตรวจสอบก่อนเริ่มโครงงานนั้นควรต้องเตรียมทำอย่างไรบ้าง นั่นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเสมอเมื่อจะทำโครงงาน

ทั้งหมดนี้คือข้อปฏิบัติโครงงานที่เราควรจะทำกันครับ หวังทุกคนที่อ่านแล้วน่านำไปใช้ได้บ้าง
การทำรายงานเรามีพื้นฐานจากการทำงานส่งอาจารย์ประจำวิชาแล้วในชีวิตจริงก็ควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานนะครับ

แล้วติดตามกันในบทต่อไปนะครับ ใกล้จะจบแล้วช่วงพักร้อนก็เข้ามาศึกษากันให้มากละกัน...see you again

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

6. บทหก การประชุมและแก้ปัญหาโครงงาน (ภาคสนาม)

บทที่หก การประชุมและแก้ปัญหาโครงงาน (ภาคสนาม)

กลับมาแล้วครับ สำหรับบทนี้จะเป็นแนวทางปรึกษาเพื่อกำหนดแผนงานและแก้ไขปัญหางานที่เกิดกับโครงงานที่ปฏิบัติอยู่ โดยการดำเนินงานแผนระยะ 3-6 เดือน หากเป็นงานระยะสั้นไม่เกิน 1 เดือนจะเป็นแผนที่วางไว้แล้วและมีการติดตามรายวัน การแก้ปัญหาต้องทันที โดยกรอบที่วางไว้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ต้องเผื่องานหลุดจากเป้าหมายที่กำหนดไว้

ในแต่ละโรงงานจะมีแผนซ่อมบำรุงประจำปีหรือ 2 ปีครั้งแล้วแต่กำหนด ส่วนระยะเวลาที่จะทำการซ่อมบำรุงนั้นขึ้นอยู่ว่าจะกำหนดแผนระยะสั้นหรือระยะยาว เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดหรือการขยายขอบเขตประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้ดีขึ้นตามความต้องการผลผลิตที่ออกมา

เรามาเริ่มที่แผนการประชุมแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
1. กำหนดแผนงานและเป้าหมาย
- ขั้นเตรียมการเพื่อวางแบบแผนงานที่จะทำในระหว่างการซ่อมบำรุงหรือขยายประสิทธิภาพ
- กำหนดเป้าหมายของงานที่ทำว่าต้องการให้ผลผลิตที่่ออกมาเป็นรูปแบบใด
- กำหนดการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานที่ได้ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
- กำหนดแผนสำรองเผื่องานที่ไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้และสามารถทำเป้าหมายที่ต้องการได้อยู่
- มาตรการป้องกันความปลอดภัยก่อนเริ่มทำโครงการ
2. ติดตามการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหา
- ขั้นตอนการติดตามและแจ้งผลการดำเนินการระหว่างปฏิบัติโครงการ
- แจ้งปัญหาที่ประสบเจอระหว่างปฏิบัติและหาแนวทางแก้ไข
- กำหนดวิธีการทำงานและมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสมระหว่างปฏิบัติ
- กำหนดเครื่องชี้วัดประสิทธิผลและแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพระหว่างปฏิบัติ
- หาแนวทางเผื่อเลือกสำหรับการปฏิบัติไม่เป็นไปตามแผนและปรับแผนงานตามสถานการณ์
3. สรุปผลการดำเนินงานและเสนอแนะแนวทางการป้องกันต่อไป
- ขั้นตอนการสรุปผลงานและเสนอแนะแนวทางปฏิบัติในโครงการต่อไป
- แจ้งผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ทำและปัญหาที่ประสบเจอพร้อมแนวทางแก้ไข
- แจ้งประสิทธิผลการทำงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพระหว่างปฏิบัติ
- แจ้งแผนงานที่ได้ทำไปและแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
- กำหนดแผนงานและแนวทางป้องกันความปลอดภัยในโครงการต่อไป
- สรุปบันทึกผลการประชุมและรายงานเอกสารให้ฝ่ายบริหารองค์กรต่อไป

จากแนวทางข้างต้นจะเห็นว่าเรามีแผนงานและแนวทางการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมแล้วแต่ความเป็นจริงอาจจะประสบพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เสมอ ดังนั้นแผนสำรองจึงเป็นสิ่งสำคัญและมาตรการป้องกันต้องมีไว้ตลอด เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ ระหว่างปฏิบัติงานหากเราไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาว่าเราได้ทำอะไรผิดพลาดลงไปการกลับมาแก้ไขอาจจะสายไปแล้วก็ได้

ปัญหามีไว้ให้แก้ไข แต่หากขาดแผนงานและเป้าหมายที่ชัดเจน เราอาจจะแก้ไขไม่ถูกและแนวทางผิดขั้นตอนไปหมดทำให้มีผลกระทบต่อภาพรวม กระบวนการที่จะต้องทำในลำดับต่อมาต้องเปลี่ยนแนวทางไปได้ทั้งหมดก็เป็นได้ เราคือชิ้นส่วนหนึ่งของโครงการที่จะขับเคลื่อนให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ หากขาดไปก็หาชิ้นส่วนใหม่มาทดแทนแต่จะดีเท่าที่เราทำหรือไม่เท่านั้นเอง

อย่าให้โครงการต้องหยุดชะงักเพราะความประมาทที่เราทำโดยไม่คาดคิดมันอาจจะส่งผลร้ายต่อผู้ร่วมปฏิบัติโครงการที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันก็ได้นะ (T-T)

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

5. บทห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน(ต่อ)

บทที่ห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน(ต่อ)
เมื่อต้องปฏิบัติงานจริงภาคสนาม

กลับมาติดตามกันต่อในส่วนผลจากการปฏิบัติงานกันในหัวข้อ
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
เมื่อทำการซ่อมบำรุงงานติดแผนได้ จะต้องมีอุปสรรคอยู่เสมอ
สิ่งที่ได้พบเจออยู่เป็นประจำคือ มีอุปกรณ์ชำรุด ต้องเปลี่ยนใหม่หรือซ่อมแซมก่อนใช้งาน
หากเราอยู่ในแผนซ่อมประจำปี ก็จะมีช่วงเวลาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ให้แก้ไขได้ทันที
มีอะไหล่และอุปกรณ์สำรองก็เปลี่ยนทันที ถ้าไม่มีก็ต้องซ่อมแซมให้ใช้งานได้จนกว่าจะมีอะไหล่
หรือวางแผนซ่อมในคราวต่อไป กำหนดแผนเป็นระยะที่เหมาะสมต่อไป

ระบบที่มักจะมีการวางแผนซ่อมอยู่บ่อยได้แก่ ระบบไฟฟ้า ,ระบบท่อน้ำและอุปกรณ์(ปั๊มและเกจวัด)
วาล์วและข้อต่อต่างๆ ที่ชำรุดบ่อยๆ จำเป็นต้องมีอะไหล่เปลี่ยนสำรองไว้อยู่เสมอ เราควรแจ้งในส่วน
ฝ่ายคลังพัสดุเพื่อจัดหาสำรองไว้และวางแผนการซ่อมตามช่วงเวลาปิดซ่อมบำรุงประจำปีต่อไป

ข้อบกพร่องต่างๆที่ได้ทำไว้ควรปรึกษากับฝ่ายปฏิบัติการของโครงงานเพื่อหาบรรจุในแผนงานการประชุมทุกเดือนและคอยศึกษาผลกระทบในการทำโครงงานในคราวต่อไป และปรับปรุงในดีขึ้น

สำหรับบทนี้ก็ฝากไว้เพียงเท่านี้ และคอยตามในบทที่หก ต่อไปนะจ๊ะ
BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

5. บทห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน

บทที่ห้า ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน
เมื่อเรียนโครงงานปฏิบัติภาคสนามจริง

กลับมากันแล้วครับ ต่อไปนี้จะเป็นบทเรียนแนวทางการทดสอบและติดตามผลการเรียนกัน
ทุกท่านได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้วประสบพบเจออะไรบ้างช่วยแบ่งปันกันบ้างนะ
หากเราได้ติดตามข่าวที่เป็นผลกระทบของอุตสาหกรรมน้ำมันของบริษัทลูก ปตท.(pttgc)
ก็เป็นที่ทราบดีว่าการรั่วไหลท่อส่งน้ำมันดิบบริเวณใกล้เกาะเสม็ดทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณอ่าวพร้าว
ได้รับความเสียหายอย่างมาก สาเหตุท่อส่งมีปัญหาหรือกระบวนมีปัญหา จะเห็นได้ว่าระบบมาตรฐาน
ด้านความปลอดภัยนี้ต่ำมาก ไม่มีการป้องกัน ไม่มีการศึกษาปัญหาระบบแก้ไขเรื่องเหล่านี้มาก่อน
ทำให้การรั่วไหลกระจายออกไปเป็นวงกว้างและใช้ระยะเวลานาน จะบอกว่าสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยก็ได้ แต่การเรียนรู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดเป็นสิ่งสำคัญ มาตรฐานการซ่อมบำรุงรักษาและปฏิบัติการภาคสนามน้อยเกินไป เชื่อว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอนัก เป็นบทเรียนที่ ปตท. ต้องนำไปปรับปรุงในหน่วยองค์กรอย่างมาก หากบริษัทลูกอย่าง pttme มีส่วนในการรับผิดชอบและวางแผนซ่อมบำรุงและศึกษาป้องกันไปด้วยจะดีไม่น้อย เพราะการใช้หน่วยงานภายในองค์กรสร้างระบบการจัดการที่ครบวงจรจะดีที่สุดแต่เชื่อว่ายังมีปัญหาภายในองค์กรอยู่มากและยากที่แก้ไขได้

สำหรับบทความนี้ ผมมีบททดสอบการเรียนให้ทุกท่านอยู่ 5 ข้อดังนี้

1. แนะนำโครงงานเสนออาจารย์ใหญ่ ผ่านรายงานติดตามผลประจำวัน ประจำสัปดาห์
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
3. แนวทางการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
4. เทคนิคการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์ปัญหาตามระบบ
5. สรุปผลโครงงานโดยอาศัยปัจจัยข้อมูลเชิงวิชาการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน

จากบททดสอบทั้ง 5 ข้อ ผมจะยกตัวอย่างโครงงานและอธิบายตามหัวข้อดังนี้ครับ
โครงงาน ซ่อมบำรุงระบบคัดแยกกากปาล์มในโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

1. แนะนำโครงงาน ดังต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน ซ่อมบำรุงระบบคัดแยกกากปาล์มในโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

อธิบายระบบการทำงาน มี 3 ส่วนดังนี้
1. ขนส่งลำเลียง นำเมล็ดปาล์มขนส่งผ่านสายพานลำเลียงเข้าหม้อต้ม
2. หม้อต้มเค้นน้ำมัน ต้มน้ำร้อนให้น้ำมันระเหยออกจากเมล็ด และขนส่งลำเลียงต่อไป 
3. บดและบีบคัดแยกกาก เมล็ดที่ต้มร้อนจนน้ำมันออกแล้ว จะผ่านเครื่องบดและบีบเค้นแยกน้ำมันกับ
กากปาล์มออกมาสู่ระบบลำเลียงไปทิ้งต่อไป(กากนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงได้อีก)

แนวทางการซ่อมบำรุง มี 3 ส่วนเช่นกันดังนี้
1. ขนส่งลำเลียง ระบบสายพานลำเลียง แก้ไขล้อหมุน(Roller)ชำรุด วัดรอบมอเตอร์ขับสายพานและตั้งศูนย์สายพานใหม่ เช็คน้ำมันหล่อลื่น เช็คโครงสร้างรางสายพานที่ชำรุดสึกหรอ แก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
2. หม้อต้มเค้นน้ำมัน อุปกรณ์ต้มเดือดชำรุด อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและแรงดันชำรุด ตั้งค่าทดสอบมาตรฐานความเที่ยงตรงอุปกรณ์ โครงหม้อต้มชำรุดสึกหรอ แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
3. บดและบีบคัดแยกกาก อะไหล่สึกหรอหรือชำรุด แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

ประสิทธิภาพหลังการซ่อมบำรุง เมื่อแรกเริ่มก่อนโครงงาน เราควรได้สำรวจและวิเคราะห์โครงงานก่อน โดยประเมินผลการซ่อมบำรุงว่าจะทำได้ เป็นเปอร์เซ็นต์จาก 100 มีประสิทธิผลจริง 70-80 แล้วแต่ว่าสภาพเนื้องานนั้นทำได้มากน้อยเพียงใด ส่วนอีก 20-30 เป็นการสรุปติดตามผลหลังการทดสอบ
สำหรับโครงงานนี้ ได้ประเมินสภาพไว้ที่ 70 ก่อนการซ่อมบำรุง

ระยะเวลาดำเนินการซ่อมบำรุง เมื่อได้วางแผนแนวทางการซ่อมบำรุงไว้ระยะเวลาที่เหมาะสม
โดยแต่ละส่วนงานมีความเกี่ยวกับระบบการผลิตทั้งหมด 3 ส่วนจะแบ่งพาร์ทได้ดังนี้
1. ซ่อมบำรุงรายวัน เป็นการตรวจเช็คระบบเบื้องต้นก่อนซ่อมบำรุงหรือแก้ไขระบบที่ไม่กระทบการผลิต
2. ซ่อมบำรุงรายสัปดาห์ เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนอะไหล่ที่ใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 2-3 วัน หรือหยุดระบบเป็นบางช่วงเท่านั้น
3. ซ่อมบำรุงรายเดือน เป็นการซ่อมบำรุงใหญ่ที่ต้องหยุดระบบชั่วคราวเป็นบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมดอย่างเช่น ซ่อมบำรุงสายพานลำเลียงหรือเปลี่ยนล้อหมุนที่เสียหายชำรุดใหม่ ต้องหยุดระบบในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานของระบบลำเลียง ส่วนใหญ่ที่ไม่มีการขนส่งเมล็ดปาล์ม

แนวทางการทดสอบระบบและผลการทดสอบหลังการซ่อมบำรุง
ตามมาตรฐานการทดสอบ อย่างเช่น
ระบบสายพาน ทดสอบรันระบบลำเลียงวัดรอบ และศูนย์ถ่วงสายพาน
อุปกรณ์ต้มเดือด วัดอุณหภูมิและแรงดัน ตามค่ามาตรฐาน
เครื่องบดและบีบคัดแยกทำงานปกติหรือไม่

เอกสารข้อมูลทางเทคนิคประกอบ อุปกรณ์มาตรฐานต้องใบรับรองการทดสอบและบทวิชาการเปรียบเทียบมาตรฐานรับรองที่ยอมรับได้

บทที่ห้า ขอพักไว้เท่านี้ก่อนครับและติดต่อในหัวข้อ
2. เราได้อะไรจากโครงงานและประสบปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าสนใจในการทำโครงงานนี้บ้างนะ ต้องติดตามกัน
BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1. บทแรก(ต่อ) บทสัมภาษณ์ก่อนเข้าเรียน

เอาล่ะ กลับมาเจอกันอีกแล้ว
บทแรก(ต่อ)

บทสัมภาษณ์ก่อนเข้าเรียน

1. ทางบ้านคุณประกอบอาชีพอะไร มีกิจการส่วนตัวหรือไม่
หากตอบว่ามี บอกได้เลยว่าในอนาคตจบแล้ว คุณต้องกลับไปทำกิจการที่บ้าน ถ้าไม่ใช่ลูกคนสุดท้องหรือลูกสาวคนเดียวในบ้าน
2. ทางโรงเรียนต้องแน่ใจแล้วว่าคุณจะไม่มาที่นี่ พักพิงชั่วคราว เพื่อจะเป็นบันไดไปสู่โรงเรียนในฝันแห่งใหม่ เพราะทางโรงเรียนมีเวลาให้คุณตัดสินใจก่อน 4 เดือน
หากผ่านคุณก็อยู่ต่อไปได้(แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ต่อไป เพราะไม่มีใครบอกคุณว่าหลังจาก 4 เดือนคุณผ่านประเมินหรือยัง หากคุณยังมีวิชาที่เรียนไม่จบอยู่ ก็ผ่านอัติโนมัติ)
3. ทางโรงเรียนมีเบี้ยเลี้ยงให้สำหรับนักเรียนที่อยู่กินประจำ เป็นรายเดือน และเบี้ยขยันพิเศษสำหรับนักเรียน ที่ตั้งใจเรียนทุกวิชาโดยไม่มีวันหยุดตลอดปีการศึกษา
(คะแนนคุณจะขึ้นอยู่กับอาจารย์ประจำวิชา บางทีก็มีการประกาศผลประเมินออกมากลางเทอมก็มีด้วย)
4. เวลาคุณสัมภาษณ์กับผอ.โรงเรียน คุณต้องกล้าที่จะตอบคำถามทุกเรื่องและหากไม่แน่ใจในคำตอบต้อง ตอบว่าขอคิดดูก่อน หรือไม่รู้ไม่ทราบ แต่ต้องมีคำตอบทุกครั้ง
 ไม่ว่ามันจะช้าหรือเร็วไป สำหรับความเข้าใจของคุณ และอย่าสงสัยจนมากเกินไป เพราะมันหมายถึงว่าคุณแสดงความโง่ออกมามากจนเกินไป
 แต่การนิ่งเฉย โดยไม่ตอบอะไร ก็แสดงว่าคุณเหม่อลอย ไม่สนใจในสิ่งที่ถามได้เหมือนกัน  สิ่งที่ดีที่สุดคือคุณต้องพิจารณาในคำถามว่าสิ่งใดตอบได้หรือไม่
และตอบไปอย่างฉะฉานให้ดีที่สุดว่าใช่หรือไม่ ปฏิภาณไหวพริบต้องมีกันบ้าง แต่ถ้าแถไปอย่างศรีธนญชัย ก็เกินไปนะครับ

5. บุคคลที่จะผ่านสัมภาษณ์ได้ มีอยู่ 4 อย่างคือ
    5.1. คนซื่อ ขยัน มารยาทดี และมีสิ่งที่แอบแฝงเร้นในตัวเอง (ลูกบ้ารึป่าว?)
    5.2. คนฉลาด ใจกล้า มีปฏิภาณไหวพริบดี (มีภูมิต้านทานเยอะ)
    5.3. คนไม่เก่ง แต่มีไหวพริบ คำพูดคล่องดั่งปลาไหล (พวกนี้หัวหมอ)
    5.4. คนประจบเก่ง เส้นใหญ่ มีนายดีคอยส่งเสริม (พวกแมวเซา รายงานเก่ง)

แล้วคุณล่ะ เป็นแบบไหนใน 4 อย่างนี้

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1. บทแรก สัมภาษณ์และเริ่มเข้างาน

เอาล่ะ กลับมาเจอกันอีกครั้ง
เริ่มกันเลย สำหรับบทแรก

1. บทแรก สัมภาษณ์และเริ่มเข้าเรียน

     ตั้งแต่เริ่มแรก คุณรู้จักโรงเรียน PPMS จากที่ใด สำหรับผมรู้จักทางอินเตอร์เนต By JOBTHAI
ผมกรอกใบสมัครแนะนำตัวและรอสัมภาษณ์ หลังจากนั้นประมาณเดือนกว่า ธุรการโรงเรียน ก็โทรศัพท์ เรียกผมไปสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ในวันเดียวกัน คุณเคยเจอคำถามเหล่านี้ในข้อเขียนหรือไม่

- หินสองก้อนได้แก่ หิน A และหิน Bโยนขึ้นไปในอากาศ น้ำหนักเท่ากัน จงบอกว่าหินก้อนใด
ตกก่อนกัน (คำถามง่ายๆนี้ ใครก็ตอบได้ โดยหลักทางฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ เมื่อนำหนักและรูปทรงเหมือนกันหรือเท่ากัน ก็ต้องตกพร้อมกันสิครับ ...แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่าคำตอบจะผิดน่ะ ก็ลองดูใหม่สิ หิน A กับหิน B โอ้พระเจ้าไม่น่าเชื่อหิน Bบินได้ด้วย แบบนี้ก็มีนะ)

- หากมีน้ำ 1,000 ลิตรใส่ภาชนะกับก้อนเหล็ก 1 ตัน โดยไปชั่งน้ำหนักตราชั่งที่เทียบวัดเที่ยงตรงแม่นยำ ท่านคิดว่าระหว่างน้ำกับเหล็ก สิ่งใดที่มีน้ำหนักกว่ากัน (บางคนดูแค่วัตถุว่าเป็นเหล็กก็คิดว่าหนักมากกว่า แต่ผิดครับ คำตอบน้ำ 1,000 ลิตร เท่าำำำกับ 1 ตัน เหล็กกับน้ำก็น่าจะเท่ากันครับ แต่ก็ผิดอีกครับ...อย่าลืมสิครับน้ำใส่ภาชนะอยู่นะคิดภาชนะใดไม่มีน้ำหนักกัน ก็แหงล่ะ น้ำหนักกว่าเหล็กครับ อยู่ดี ก็บอกแล้วว่าน้ำหนัก)

- หากมีคนเปิดหลอดไฟหนึ่งดวงทิ้งไว้นานเป็นชั่วโมงและเพิ่งขาดไปและมีคนปิดมันไปเมื่อสักครู่นี้เอง และคุณก็ไม่รู้ว่าเค้าเพิ่งปิดไปดวงไหนที่หลอดขาด ห้องนั้นเป็นห้องปิดทึบไม่สามารถมองเห็นจากด้านนอก คุณได้รับมอบหมายเปลี่ยนหลอดไฟในห้องนั้นโดยมีโอกาสเข้าไปในห้องนั้นได้แค่ครั้งเดียวเพราะไม่กี่นาทีจะมีการใช้ห้องนั้นประชุมงานอีก โดยในห้องมีแค่โต๊ะประชุมกับเก้าอี้ที่สามารถยืนเปลี่ยนหลอดได้แค่นั้น คุณจะทำยังไงเพื่อที่จะรู้ว่าหลอดไฟ หลอดไหนที่ขาดและเพิ่งปิดไป ลืมบอกไปในห้องมีหลอดไฟอยู่ 4 ดวงและสวิตซ์อยู่นอกห้องนั้น (บางคนก็บอกว่าก่อนเข้าห้องก็เปิดไฟไว้ทั้งสี่ดวงเลย แค่ก็รู้แล้วว่าดวงไหนไม่ติด แต่นี่หลักการที่ปลอดภัยเพราะระหว่างที่คุณเปลี่ยนหลอดไฟที่เสียอยู่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟไม่ดูดคุณกัน

คำตอบคือ คุณประสาทสัมผัสทางกายที่ดีเยี่ยมจงใช้มันให้เกิดประโยชน์ ก่อนเข้าห้องสวิตซ์ไฟทั้งหมดถูกปิดอยู่ คุณยืนบนโต๊ะหรือเก้าอี้ประชุม(ไม่มีล้อเลื่อน)จับหลอดไฟทั้งหมดสี่ดวง เมื่อรู้จักว่าหลอดไฟใดที่ร้อนจัดกว่าดวงอื่นๆ หลอดไฟนั่นแหละที่คุณจะเปลี่ยนทันทีครับ)

ข้อเขียนเหล่านี้แค่ทดสอบความรู้พื้นฐานและไหวพริบในการตอบคำถามเท่านั้น
จงฝึกคิดไว้แหละดีครับ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม