วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 2)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ 2)

สวัสดีครับกลับมาแล้ว ทิ้งท้ายปี 2555 หัวเราะส่งท้ายปีกับภาคต่อกันในหมวดวิเคราะห์โครงงานกลุ่มโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
ต่อไปนี้เราจะเข้าเรื่องในกระบวนการหม้อต้มไอน้ำให้เข้าใจในแก่นแท้ของระบบไอน้ำกันว่าทำงานกันอย่างไร

เริ่มวิเคราะห์กระบวนการสามารถแยกออกได้ 4 ระบบคือ
1. ส่งกำลังน้ำเลี้ยง (Boiler Feeding)    ระบบนี้จะทำหน้าที่นำส่งน้ำดิบอุ่นๆเข้าหม้อต้มไอน้ำ จากถังพักน้ำดิบ (Demins Tank) ผ่านอุปกรณ์ปั๊มน้ำแรงดันสูง (Boiler Feed Pump)
ส่งน้ำเลี้ยงเข้าหม้อต้มไอน้ำ ผ่านถังพักไอน้ำ มีด้วยกัน สองถังคือ ถังพักไอน้ำแรงดันต่ำ(Low pressure/Water Drum)และถังพักไอน้ำแรงดันสูง(High pressure/Steam Drum) อาจจะมีถังพักที่สามระหว่างถังทั้งสองนี้
หากเป็นระบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น(Intermidiating Drum) ถังพักไอน้ำจะถูกเชื่อมต่อด้วยท่อขนาดเล็กขดเลื่อยเป็นตัวยู(U) หรืองูเลื้อยก็ได้แล้วแต่การออกแบบหม้อไอน้ำ
และอาจจะมีท่อผนังหม้อไอน้ำเป็นแผงเชื่อมอีกด้วยก็ได้(Wall tube) จะว่าไปแล้วรูปแบบก็แตกต่างกันในแต่ละหม้อไอน้ำที่ออกแบบมาไม่เหมือนโดยหลักก็มีท่อขดอยู่ในหม้อไอน้ำละกัน
2. ต้มเดือดและเปลี่ยนความร้อน (Boiler Evaporating and Economizing/Heat Exchanger)    ระบบนี้จะทำหน้าที่นำความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมาต้มเดือดน้ำในท่อที่ขดอยู่ในหม้อไอน้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ กระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนความจากการเผาไหม้โอนถ่ายมาสู่น้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ
เมื่อน้ำเดือดในขึ้นแรกเป็นไอน้ำในส่วนนี้จะระเหยเป็นไอน้ำจากถังพัก เข้าสู่กระบวนการต่อไป
3. การคัดแยกและขยายกำลังส่ง (Boiler Seperating and Pressure Expansing)    ระบบนี้จะทำหน้าที่คัดแยกไอน้ำในถังพักแรก เพื่อแยกส่วนน้ำออกจากไอน้ำและส่งไอน้ำกลับเข้าสู่หม้อไอน้ำอีกครั้งเพื่อเข้ากระบวนการแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไอน้ำให้มีสถานะจากไอเปียกเป็นไอแห้ง
(แสบคอจัง..แค๊กๆ) และมีสถานะแรงดันมากขึ้นเข้าขั้นเป็นยอดไอน้ำที่สามารถใช้งานได้ผ่านถังพักที่สอง เพื่อส่งผ่านเข้าไปในส่วนกังหันไอน้ำและปั่นกระแสไฟฟ้าได้ต่อไป
4. เปลี่ยนสถานะและกลับคืนประสิทธิภาพ ( Boiler Condensing and Return Performancing)    ระบบนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะไอน้ำควบแน่นกลับคืนสู่สถานะน้ำและคืนประสิทธิภาพไอน้ำอุ่นผ่านอุปกรณ์น้ำแรงดันสูงอีกครั้ง แต่สำหรับส่วนเหลือน้ำทิ้งจากกังหันไอน้ำจะส่งผ่านไปหอระบายความร้อน(Cooling Tower) และน้ำทิ้งสู่บ่อพักน้ำบำบัดก่อนนำไปใช้ในระบบอื่นๆต่อไป

จากที่อธิบายไประบบทั้งหมดนี้เป็นแค่กระบวนการหลักของหม้อต้มไอน้ำที่จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อไปส่งกำลังให้กังหันไอน้ำทำงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ที่ทำหน้าที่ควบคุมและรักษาการทำงานของหม้อต้มไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Dearator Tank, Flash Tank,Blow Down Tank, Steam Seperator pot, Silincer Valve, Steam trap, Water Sray Nozzle Feeder, etc. (เยอะจัง)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยการทำงานของหม้อไอน้ำมีคุณภาพที่ดี แต่สำหรับกังหันไอน้ำ(Steam Turbine)แล้วยังมีอุปกรณ์เกี่ยวพ่วงในการทำงานอีกสองตัวหลัก คือ FD Fan และ ID Fan มันคืออะไรจะอธิบายให้ฟังต่อไปในปีหน้าละกัน
เออ...ดูแล้วบทนี้จะเป็นอภิมหาตำนานที่เล่าได้ยาวอีกหลายตอนเชียวแหละ แค่เรื่องกลุ่มโรงไฟฟ้าแรกก็จะต่อเป็นภาคสาม อีกแล้ว

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น