วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ)

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน(ต่อ)

กลับมาแล้วกับภาคต่อ บทสี่ ครั้งที่แล้วเราได้เรียนรู้หลักการสั่งซื้อไปแล้ว คราวนี้จะเข้าถึงการวิเคราะห์โครงงานตามกลุ่มกัน
เริ่มกันเลยกับกลุ่มแรก หมวดกลุ่มโรงไฟฟ้า
เมื่อนึกถึงอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะคิดถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
หากจำแนกประเภทตามการผลิตจะแยกได้เป็น 4 ส่วน คือ

1. เขื่อนน้ำ ( เขื่อนภูมิพล, เขื่อนสิริกิต, เขื่อนอุบลรัตน์(น้ำพอง) ฯลฯ)

2. โรงกังหันไอน้ำ ( กฟผ. แม่เมาะ, กฟผ. พระนครใต้-พระนครเหนือ, กฟผ. วังน้อย, กฟผ. แก่งคอย, กฟผ. จะนะ ฯลฯ )

3. โรงกังหันลม ( โรงพิกัดอยู่ทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ แนวสันเขา ติดตามข้อมูลเอาเองนะ เป็นทางเลือกพลังงานทดแทนใหม่)

4. โรงแสงอาทิตย์ ( โรงงานหลักอยู่พระนครศรีอยุธยา เหล็ก Solar Farm เริ่มมีในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พลังงานทดแทนอนาคตใหม่)

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คงจะไม่ขอเอ่ยถึงละกัน เพราะยังไม่มีข้อมูลมากนัก และไม่คิดว่าจะเริ่มได้ในประเทศไทย

ส่วนแรกเขื่ิอนน้ำจะไม่ขอเข้ารายละเอียดมากนักเพราะส่วนนี้จะมีแต่หน่วยงานของ กฟผ.เท่านั้นที่ทำแต่ใช่เราจะไม่โอกาสเรียนรู้เลยนะ หากสนใจลองเข้าไปดูในเว็บของ กฟผ. เองละกันครับ

ต่อไปนี้จะขอเข้าเรื่องในส่วนของ โรงกังหันไอน้ำ
โรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
หากจำแนกตามวัตถุดิบการผลิตต้นทางแล้วละก็ จะจำแนกได้ดังนี้
1. เชื้อเพลิงพลังงาน
   - ถ่านหิน (กฟผ. แม่เมาะ , BLCP, GLOW, EGCO)
   - น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. พระนครใต้-พระนครเหนือ, กฟผ. วังน้อย, กฟผ. แก่งคอย, กฟผ. จะนะ, RGCO, EGCO, GLOW เป็นต้น)
   - กากของเสียและวัตถุดิบพืชไม้ (กากน้ำมันเสียและวัสดุเจือปน, กากเมล็ดปาล์ม, เปลือกข้าว, ฟางข้าวโพด, ชานอ้อย, กากเมล็ดกาแฟ เป็นต้น)
ในส่วนนี้จะต้องถูกเผาไหม้เป็นพลังงานความร้อนให้กับข้อต่อไป
2. น้ำดิบ
    ส่วนนี้จะถูกพลังงานความร้อนทำให้เดือดเป็นไอน้ำ (Steam) และเกิดแรงดันเพื่อไปขับเคลื่อนกังหัน ในส่วนกระบวนการนี้เรียกว่า หม้อไอน้ำ (Boiler) เวลานึกถึงส่วนนี้ ให้คิดถึงกาต้มน้ำร้อนที่เป็นแบบเก่า ต้องใช้เตาถ่านหรือเตาแก๊ส ตรงปลายปากของกาต้มน้ำจะมีไอน้ำออกมา ตรงนี้แหละ
เป็นผลผลิตของส่วนนี้แหละครับ หากจะเจาะลึกในกระบวนการจะยกอธิบายในส่วนต่อไปอีกที
3. กระแสไฟฟ้าและลมขับเคลื่อนกังหัน
  - กระแสไฟฟ้าเป็นวัตถุดิบต้นทางเริ่มแรกเพื่อขับกังหันก่อนให้เคลื่อนตัวก่อนทำงาน หากไม่มีกระแสไฟฟ้าจะทำไงล่ะ ก็มือหมุนเอาสินะ...ไม่หรอกครับล้อเล่น
ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่จะมีไฟสำรองสำหรับการทำงานส่วนนี้เสมอนอกจากจะฉุกเฉินจริงๆ
  - ลมขับเคลื่อนกังหัน เป็นวัตถุดิบต้นทางส่วนที่สองเพื่อขับกังหันให้เคลื่อนตัวเช่นกัน แต่จะเกี่ยวข้องในส่วนอุปกรณ์ควบคุมและบังคับตัวกังหัน
แล้วหากไม่มีลมล่ะ ก็ทำงานไม่ได้นะสิ ดังนั้นส่วนใหญ่ โรงไฟฟ้าจะมีถังพักลมเก็บไว้เสมออย่าลืมนะ

เมื่อรู้ต้นทางแล้วจะต้องทราบปลายทางคือ ผลผลิต ว่ามีอะไรบ้างดังนี้

1. ส่วนเชื้อเพลิง เมื่อถูกเผาไหม้แล้วจะผ่านหม้อไอน้ำออกทางปล่องไฟ (Stack) แต่ก่อนจะออกปล่องไฟได้จะต้องผ่านกระบวนการตรวจจับและคัดแยกของเสียก่อน
    หากเผาไหม้สมบูรณ์ ไม่มีของเสียเลยจึงจะผ่านปล่องไฟออกไปได้ นี่คือหลักการที่ต้องควบคุมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา มาตรฐานสิ่งแวดล้อมนะครับ
    Green Energy ส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ  เอ...แต่ถ้าพลังงานความร้อนยังเหลือจะนำกลับมาใช้ได้อีกหรือไม่ ? คำตอบคือได้ครับ ก็นำมาอุ่นไอน้ำอีกครั้งไง
    เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์เปล่า ไอน้ำที่อุ่นซ้ำได้เรียกว่า Superheat Steam เพื่อที่จะใช้งานได้อีกครั้ง
2. ส่วนน้ำดิบ เมื่อพลังความร้อนต้มเดือดเป็นไอน้ำแล้ว จะถูกอุ่นเป็นซ้ำเป็นไอน้ำสัมพัทธ์ ก่อนส่งไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป
    แล้วไอน้ำที่ผ่านกังหันแล้วจะไปไหน ส่วนหนึ่งแปลงกลับมาเป็นน้ำร้อนแล้วกระบวนการลดอุณหภูมิผ่านอาคารระบายความร้อน(Cooling Tower) แล้วกลับใช้กลับมาใช้งานอีกครั้ง
  สำหรับส่วนที่ยังมีไอน้ำแฝงอยู่จะผ่านกระบวนการต้มก่อนส่งไปโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตต่อไป ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม
  หรือโรงไฟฟ้าขนาดกลางและย่อม
3. กระแสไฟฟ้า คือผลผลิตหลักในกระบวนการทั้งหมด กังหันไอน้ำ(Steam Turbine) ขับเคลื่อนเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า (Generator) หากในรถยนต์ก็ ไดนาโมเนี่ยแหละ
   มีกระแสไฟฟ้าสำรองคือ แบตเตอรี่เลี้ยงไว้ให้ทำงานได้ตลอด พอจะนึกออกรึยังว่าโรงไฟฟ้ามีหลักการทำงานอย่างไร

ต่อไปจะเจาะลึกรายละเอียดในกระบวนการของหม้อต้มไอน้ำแต่ว่าเมื่อยแล้วล่ะก็ฝากไว้คราวหน้าจะมาอธิบายต่อไปนะ

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น