วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน

4. บทสี่ การสั่งซื้อและวิเคราะห์โครงงาน
เอ...จะเริ่มต้นอย่างไรดีนะ

วันก่อนได้ไปเยี่ยมสถาบันศึกษาเก่าฯ ไม่ได้เจอกันได้ไปนั่งกินกันหลังสถาบัน
มีเรื่องอยากจะแชร์กัน ทุกวันนี้ สถาบันศึกษามี 4 ภารกิจหลัก แต่กลับละเลยภารกิจหลักสำคัญไป
ภารกิจที่ว่าคือ การผลิตบัณทิตสู่ภาคตลาดเศรษฐกิจและสังคม แต่เดี๋ยวนี้ความสำคัญอยู่ตรงไหน
ก็ภาคการเรียนรู้เดี๋ยวนี้ คณาจารย์บางท่านมิได้มุ่งเน้นจะสอนนักศึกษาอย่างยิ่งจัง กลับเอาเวลาไปมุ่งเน้น
ที่การพัฒนาวิชาการและงานวิจัยให้ภาคตลาดอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งนำเงินมาบริหารภาคการศึกษาแต่ผลประโยชน์หลัก
อยู่ที่ตัวคณาจารย์ได้รับเงินสนับสนุน เงินเดือนไม่พอใช้แล้วต้องพึ่งเงินจากนอกสถาบันฯมาเลี้ยงตัวเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่
ทำให้การใส่ใจในการสอนนักศึกษา มีน้อยลง แล้วนักศึกษาหน้าใหม่จะทำอย่างไร เรียนรู้ด้วยตัวเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
หากใครประจบอาจารย์เก่ง ก็ได้แนวข้อสอบ เข้ากลุ่มเก็งข้อสอบให้เรียนผ่านไปวันๆ หากจะทำความเข้าใจก็พึ่งห้องสมุดละกัน
" อนาคตการศึกษายุคใหม่ นักศึกษาไม่ต้องไปเรียนที่สถาบันแล้ว นั่งเรียนอยู่หน้าอินเตอร์เน็ตเครื่องคอมพิวเตอร์และแล็บท็อป ก็จบปริญญาได้แล้ว"
จงจำไว้เรียนศึกษาเพื่อธุรกิจสังคม และทำงานเพื่อเรียนรู้จะเป็นเจ้าของกิจการ หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ก็อ่านบทความเพื่อเรียนรู้ต่อไป

เมื่อเริ่มโครงงานการสอบถามราคาเพื่อสั่งซื้อวัสดุและเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้งานก่อนนะ
แบ่งลำดับวิธีการสั่งซื้อได้ดังนี้
1. การเลือกกลุ่มวัสดุและเครื่องมือ ออกเป็นประเภท เช่น กลุ่ม Hand Tools/Electrical Tools/Gas Tools/Welding Tools/Cutting Tools/Special Tools เป็นต้น
2. เลือกเซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่าย ให้จำเฉพาะกลุ่มที่จะสอบถามราคา ต้องมีอย่างน้อย 3 ตัวเลือกเป็นเกณฑ์
3. ส่งรายการตามกลุ่มที่แยกไว้ไปให้เซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่ายที่เลือก
4. เมื่อส่งไปแล้วต้องติดตามทันทีและขอคำตอบที่จะได้รับว่าเมื่อใด หากไม่ได้รับคำตอบต้องเลือกใหม่ให้คำตอบที่ดีที่สุด
5. เมื่อได้รับราคาแล้วนำมาเปรียบเทียบราคาและข้อมูลประกอบกลุ่มวัสดุนั้นๆว่าตรงตามสเป็คที่ต้องการหรือไม่ แล้วเลือกคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

คำตอบที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาแต่สำคัญว่าตรงสเป็คที่ต้องการใช้งานหรือไม่  ราคาอาจจะเป็นลำดับที่ 2 ก็ได้ จงคิดไว้เสมอว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับมาก่อนเสมอ

สำหรับข้อมูลเซลส์หรือSupplyer ตัวแทนจำหน่าย จะหาได้จากไหนล่ะ?
ก็เดินไปหาแผนกธุรการจัดซื้อโครงงานสิ เค้าจะมีข้อมูลให้คุณเกือบครบแหละ และเลือกหมวดหมู่กลุ่มที่คุณต้องการก็สามารถหาได้ง่ายขึ้นด้วยนะ

แต่หากเค้าไม่มีข้อมูลที่คุณต้องการจะไปหาใครได้อีกละ ก็ไปถามอาจารย์กู....กูเกิ้ล(Google)ไง รู้ทุกเรื่องและแหล่งข้อมูลรู้ทุกเรื่องแหละ ยกเว้นจะพิมพ์เรื่องผิดเท่านั้นแหละ

ธุรการไม่มีหน้าที่ตัดสินใจสั่งซื้อให้คุณได้หรอก คุณต้องเลือกเองนะ เค้ารู้เพียงข้อมูลที่คุณต้องการได้รับ การตัดสินใจเป็นของคุณครับ และต้องผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ใหญ่ด้วยนะ
ไม่งั้นหากคุณเลือกสั่งซื้อตามใจตนเองทั้งหมด อาจจะต้องควักกระเป๋าตัวเองด้วยนะ

เมื่อผ่านขั้นตอนการสั่งซื้อแล้ว จะพาคุณไปสู่การตรวจรับสินค้า ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญลำดับถัดมา
กำหนดส่งสินค้า เมื่อไหร่?
สภาพสินค้าสมบูรณ์ มีตำหนิหรือไม่?
เอกสารรับรองสินค้า มีหรือไม่? รายละเอียดตรงตามสเป็คหรือไม่?
ตรวจรหัสสินค้า องค์ประกอบสินค้า คุณสมบัติครบหรือไม่?
ส่งมอบและรับสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว? กรรมสิทธิ์ในการครอบครองเป็นของคุณแล้วครับ มีแต่การรับประกันตัวสินค้าหากเกิดผิดพลาดแล้วไม่ส่งคืนภายใน 7 วัน
คุณรับผิดชอบเองนะ เค้าไม่รับผิดชอบให้คุณหรอกครับ

ประเด็นเหล่านี้คุณอาจจะไม่พบเจอแต่ คุณที่รับของให้คุณต้องเจอ ต้องบอกให้เค้าระมัดระวังด้วยไม่งั้น เสียเงินฟรีสิครับ

การวิเคราะห์โครงงาน
สิ่งที่ต้องรู้ทำความเข้าใจกันก่อนเริ่มดำเนินโครงงาน คุณรู้รายละเอียดของโครงงานที่คุณจะทำแล้วรึยัง?
หากยังไม่รู้ให้ศึกษารูปแบบ ระบบขั้นตอน และจุดมุ่งหมายของโครงงานให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเริ่มงานกัน
ความเข้าใจมีหลัก 3 M ให้รู้ไว้คือ Man Money Machine (คนทำงาน เงินต้นทุนและค่าใช้จ่าย เครื่องจักรและอุปกรณ์)
มีอยู่ในทุกระบบโครงงานที่คุณจะต้องควบคุมให้อยู่หมัด หากการทำงานส่วนใดส่วนหนึ่งผิดพลาด นั่นคือผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานน้อยลง
เมื่อจบโครงงานคุณต้องตอบคำถามอาจารย์ใหญ่ได้ว่าอะไรคือสาเหตุของความผิดพลาดเหล่านั้น ผมว่าคุณต้องตอบได้นะ หากคุณได้ทำโครงงานนั้นอย่างจริงจัง

เราจะเริ่มการวิเคราะห์จากที่เคยแยกกลุ่มวิชาโครงงานไปแล้วในบทที่สองกันครับ
เราจะมาเจาะลึกกับกลุ่มในแต่ละประเภทกันครับ แต่ว่าคงต้องยกไปในตอนต่อไปแล้วละกัน

ผมรู้เพลียแล้วขอพักไว้ก่อนนะ...แล้วติดตามกันต่อไป

BY ลูกพ่อขุนราม ศิษย์พระจอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น